“ดวงตา” กับ แพทย์แผนจีน

 

ในทางศาตร์การแพทย์แผนจีน กล่าวว่า “ดวงตาเป็นทวารของตับ” ก็เพราะว่าในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่บันทึกความรู้ของศาสตร์การแพทย์แผนจีนไว้นั้น ได้กล่าวไว้ว่า อวัยวะตับมีเส้นลมปราณที่เชื่อมสัมพันธ์ไปยังดวงตา ปกติแล้วตับจะทำหน้าที่กักเก็บเลือด ดวงตาจะมองเห็นและมีประกายงดงามได้จะต้องได้รับเลือดจากกระบวนการทำงานของตับ ฉะนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับดวงตาไม่ว่าจะเป็นตาเหลือง ตาแดง แห้ง น้ำตาไหลมากหรือน้อยกว่าปกติ ฯลฯ

แพทย์จีนจะวินิจฉัยเบื้องต้นว่าอาจเกิดจากความไม่สมดุลของการทำงานของตับและรวมไปถึงถุงน้ำดีด้วย เนื่องจากตับและถุงน้ำดีเป็นอวัยวะตันและกลวงที่ทำงานคู่กัน มีเส้นลมปราณเชื่อมต่อถึงกันนั่นเอง

 

 

การวินิจฉัยอาการผิดปกติของตับที่ส่งผลต่อดวงตาในทางการแพทย์แผนจีน

1. ตาแห้ง เคืองตา ตามัว เมื่อยตาอยากหลับตานานๆ เกิดจากชี่ตับอ่อนแอ

2. ร้อนตา เคืองตา แสบตา สาเหตุจากการอดนอน มีความเครียด เกิดจากตับร้อน

3. ตาแดง มีเส้นเลือดฝอยเล็กๆ แดงเต็มหัวตาและหางตา เกิดจากไฟตับมากเกินไป

4. ตาเหลือง ผิวเหลือง เกิดจากตับและถุงน้ำดีคั่ง

5. ปวดหัวเวียรศีรษะ ตาลาย โคลงเคลง ทรงตัวไม่ดี เกิดจากลมตับปั่นป่วน

 

วิธีการดูแลดวงตาเบื้องต้น

– การนอนหลับที่เพียงพอ เน้นการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่เวลา 01:00 – 03:00

– ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา เช่น อาหารจำพวกวิตามินสูง

– การผ่อนคลายสายตา โดยหลีกเลี่ยงการใช้สายตาที่จดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง ละสายตามองวิวหรือระยะทางที่กว้างๆ

– หลีกเลี่ยงแสงสะท้อน

 

อาหารบำรุงสายตา

เก๋ากี้ เก๊กฮวย แครอท ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มะเขือเทศ เครื่องในตับ เป็นต้น

 

หมอจีนมาแนะ! 5 จุด บำรุงสายตา

1.จุดไท่หยาง (太阳穴) จุดที่อยู่ตรงรอยบุ๋มบริเวณขมับ เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วกับหางตา

2.จุดเหอกู่ (合谷穴) จุดอยู่ตรงรอยบุ๋มบริเวณหางคิ้ว

3.จุดทูจูคง (丝竹空穴) จุดอยู่ตรงรอยบุ๋มบริเวณหางคิ้ว

4.จุดฉวนจู๋ (攒竹穴) จุดอยู่ตรงรอยบุ๋มบริเวณหัวคิ้ว

5.จุดจิงหมิง (睛明穴) จุดอยู่ตรงรอยบุ๋มเหนือมุมหัวตา ห่างจากหัวตามาเล็กน้อย

*** แต่ละจุดใช้วิธีการนวดคลึงเบาๆ 1-3 นาที

 

Share article :

บทความอื่น ๆ