ดูแลตัวเองอย่างไร…เมื่อมีภาวะซึมเศร้า ตามแบบแพทย์จีน

         
ภาวะซึมเศร้า เป็นความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย เพราะอารมณ์ เป็นพื้นฐานของมนุษย์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ คือ มีอารมณ์ซึมเศร้าหดหู่อย่างชัดเจนสะสมมาเป็นระยะเป็นเวลาที่นาน มักมีการรับรู้และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปร่วมด้วยในกรณีที่รุนแรงอาจมีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำได้อีก เมื่อมีอาการเกิดขึ้นในแต่ละครั้งส่วนใหญ่สามารถดีขึ้นได้ บางรายอาจมีอาการของโรคที่หลงเหลือหรือกลายเป็นแบบเรื้อรังได้

ในทางแพทย์แผนจีน ภาวะซึมเศร้า จะถูกจัดอยู่ในขอบเขต “ กลุ่มอาการเตียน 癫证  ซึ่งจัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตประสาท เนื่องจากมีเสมหะอุดกั้นทวารของหัวใจ ทำให้การทำงานของเสินแปรปรวน ลักษณะพิเศษของโรค คือ จิตใจซึมเศร้า อารมณ์เฉื่อยชา เงียบขรึม ทักษะการพูดเริ่มผิดปกติ พูดจาสับสน นิ่งสงบ หรือมีการเคลื่อนไหวน้อย

 

การดูแลตนเองเบื้องต้น ถ้ามีภาวะซึมเศร้าตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

 

  • ฟื้นฟูสภาวะทางอารมณ์และเสริมสร้างความบันเทิง : ทำให้รู้สึกแรงบันดาลใจ ให้รู้สึกมีชีวิตชีวา มีความสุข ร่าเริง และรักษาอารมณ์ให้มั่นคง หลีกเลี่ยงอารมณ์ดีใจหรือตกใจมากเกินไป

 

 

  • เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย : ควรออกกำลังกาย เล่นกีฬาประเภทลูกบอลต่างๆ อู่ฉินซี่ (五禽戏) เพื่อช่วยให้ชี่และเลือดไหลเวียนสะดวกมากขึ้น สภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น

 

 

  • มั่นดูแลตัวเองจากสิ่งแวดล้อมภายนอก : แสงไฟภายในห้องควรเป็นแสงอ่อนๆ จัดแต่งห้องแบบเรียบง่าย สะอาด เพื่อเพิ่มความสงบ และหลีกเลี่ยงปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการกระตุ้นจิตประสาท

 

 

***การดูแลเหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยในเบื้องต้น ถ้าคนไข้มีอาการมากและยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ

 

 

Share article :

บทความอื่น ๆ