ในทางการแพทย์แผนจีนมีมุมมองสุขภาพเป็นแบบองค์รวม การขาดสมดุลย่อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งสมดุลจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยจากสมดุลภายในร่างกาย และสมดุลระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดความไม่สมดุลจะทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย
โดยสภาพอากาศในช่วงหน้าฝน มักมีสาเหตุจากความชื้นเป็นหลัก เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วอาจเกิดอาการต่างๆตามมาได้
ซึ่งสามารถแบ่งความชื้นที่สะสมภายในร่างกายที่พบได้บ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่
1.ร้อนชื้น เกิดจากการที่มีฝนตกในช่วงที่มีอากาศร้อน
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยคือ ความรู้สึกหนักตัว ตัวร้อนหรือมีไข้ มักเกิดขึ้นในช่วงบ่าย ปากแห้งคอแห้ง แน่นหน้าอก ปัสสาวะมีสีเข้ม
2.เย็นชื้น เกิดจากการที่มีฝนตกติดต่อกันในช่วงที่อากาศเย็น
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ความรู้สึกหนักตัว มือเท้าเย็น ปวดเมื่อยได้ง่าย อาจมีอาการถ่ายเหลว ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่ฝนตก
แล้วความชื้นส่งผลต่ออวัยวะใดได้บ้าง?
ทางศาสตร์แพทย์จีน มีคำกล่าวไว้ว่า ม้ามและกระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะสำคัญแห่งที่สอง เมื่อฤดูฝนมาถึงปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งม้ามและกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ทำหน้าที่ลำเลียง ขนส่งน้ำในร่างกายและความชื้นได้ ดังนั้น จึงต้องบำรุงม้ามและกระเพาะอาหารเป็นอันดับแรกเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมาได้ ดังนี้
1. ดื่มซุปและโจ๊กให้มากขึ้น
ในช่วงฤดูฝน ม้ามและกระเพาะอาหารจะอ่อนแอง่าย จึงต้องดูแล โดยการดื่มซุปและโจ๊ก เพราะย่อยง่ายและไม่ทำให้อวัยวะทั้งสองทำงานหนักมากจนเกินไป และจะทำให้อุ่นท้องและร่างกาย ลดความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากฝนที่เปียก เย็น เช่น ซุปไก่ตุ๋นยาจีน และโจ๊กลูกเดือย ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการที่สูง
2. กินอาหารอุ่นๆให้มากขึ้น
แนะนำให้ทานอาหารอุ่นๆในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อช่วยในการบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร อีกทั้งในสภาพอากาศที่ฝนตก และมีความชื้นในอากาศสูง อารมณ์ของผู้คนมักจะมีอาการต่างๆ เช่น ความเหนื่อยล้า ความหงุดหงิด ความโกรธอย่างรุนแรง ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย และวิตกกังวล ถ้าดื่มชาเขียวและน้ำต้มให้มากขึ้น จะช่วยให้สงบจิตใจได้เป็นอย่างดี