นวด 4 ท่า “แก้อาการปวดหัว” ฉบับคนใช้สายตาเยอะ…ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน

           

 

           อาการปวดหัว ในทางการแพทย์แผนจีนเรียกว่า 头痛 จากการใช้สายตา ซึ่งในทางแพทย์จีนนั้น มีคำกล่าวไว้ว่า “ดวงตาเป็นทวารของตับ” หมายถึง อวัยวะตับมีเส้นลมปราณที่เชื่อมสัมพันธ์ไปยังดวงตา ปกติแล้วตับจะทำหน้าที่กักเก็บเลือด ดวงตาจะมองเห็นและมีประกายงดงามได้จะต้องได้รับเลือดจากกระบวนการทำงานของตับ ฉะนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับดวงตาไม่ว่าจะเป็นตาเหลือง ตาแดง แห้ง น้ำตาไหลมากหรือน้อยกว่าปกติ ฯลฯ แพทย์จีนจะวินิจฉัยเบื้องต้นว่าอาจเกิดจากความไม่สมดุลของการทำงานของตับและรวมไปถึงถุงน้ำดีด้วย เนื่องจากตับและถุงน้ำดีเป็นอวัยวะตันและกลวงที่ทำงานคู่กัน มีเส้นลมปราณเชื่อมต่อถึงกันนั่นเอง ซึ่งจากอาการเหล่านี้ เมื่อเราใช้สายตามากจนเกินไปอาจทำให้มีอาการปวดหัวตามมาได้อีกด้วย

 

“การดูแลเรื่องอารมณ์ก็สำคัญ”

  • คนเรานั้นถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ทั้งสิ้น ในทางแพทย์จีนได้มีการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของอวัยวะกับอารมณ์ไว้ คัมภีร์เน่ยจิง ได้กล่าวว่า หัวใจควบคุมอารมณ์รักชอบ ตับควบคุมอารมณ์โกรธ ม้ามควบคุมอารมณ์ครุ่นคิด ปอดควบคุมอารมณ์โศกเศร้า ไตควบคุมอารมณ์ตกใจหรือกลัว
  • นอกจากอวัยวะหัวใจเป็นส่วนหลักในการควบคุมอารมณ์แล้ว อวัยวะตับมีความสำคัญในการควบคุมการกระจายและระบายของชี่ด้วยเช่นเดียวกัน โดยปกติแล้วชี่กับเลือดจะไหลเวียนควบคู่กันไป คือ ชี่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเลือดในขณะเดียวกันเลือดก็จะผลักดันชี่ด้วย ดังนั้นควรควบคุมอารมณ์โมโหไว้ให้ดี เพราะถ้าเวลาโมโหจะทำให้ชี่วิ่งพุ่งขึ้นด้านบนทำให้มีอาการหน้าแดง ตาพร่ามัว ตาแดงเนื่องจากตับเปิดทวารที่ดวงตา ทำให้เกิดอาการปวดหัวต่างๆตามมาได้อีกด้วย

 

วิธีการนวดกดจุด 4 ท่า “แก้อาการปวดหัว สำหรับผู้ที่ใช้สายตาเยอะ” ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

  1. นวดคลึงเบาๆที่จุดฉวนจู๋ (攒竹穴)บริเวณหัวคิ้ว ประมาณ 20 วินาที             
  2. นวดคลึงเบาๆบริเวณรอบเบ้าตา ประมาณ 20 วินาที                 
  3. นวดคลึงเบาๆที่จุดไท่หยาง (太阳穴) บริเวณขมับประมาณ 20 วินาที                
  4. นวดคลึงเบาๆที่จุดเอ๋อเหอเหลียว (耳和髎) บริเวณเหนือใบหูหลังจอนผม ประมาณ 20 วินาที         

 

 

 

 

Share article :

บทความอื่น ๆ

“หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Disc) คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท

Read More »