“ปวดข้อศอกด้านนอก (Tennis elbow)” …กับการรักษาในแพทย์แผนจีน

ปวดศอก หรืออาการเจ็บบริเณข้อศอกด้านนอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส (Tennis elbow) เกิดจากมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่มาเกาะยึดบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอก สาเหตุอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น อุบัติเหตุ หรือเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นเอ็น เช่น การเล่นกีฬา อาชีพที่ต้องยกของ หรือลากของบ่อยๆ แม่บ้าน (กวาดบ้าน, บิดผ้า, ทำกับข้าว) เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีการบาดเจ็บ ประกอบกับวัยที่เริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้เส้นเอ็นบริเวณที่มีการฉีกขาดเมื่อยังไม่ทันหายสนิทผู้ป่วยกลับไปใช้งานอีก เกิดการฉีกขาดซ้ำ มีการอักเสบ บวม ทำให้หายช้ากว่าปกติ อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ จนถึงหลายเดือน อาการอักเสบบริเวณข้อศอก อาจจะเกิดเพียงส่วนของเส้นเอ็น (Tendonitis) แต่บ่อยครั้งที่อาการอักเสบจะเกิดครอบคลุมถึงตำแหน่งที่เกาะของเส้นเอ็นบนกระดูก และข้อใกล้เคียง (epicondylitis)

 

 

 

ในทางการแพทย์แผนจีน อาการเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอก จัดอยู่ในขอบเขตของ “伤筋” ข้อศอกเป็นบานพับของแขน เป็นบริเวณที่เส้นลมปราณมือหยางหมิง (手阳明大肠经)พาดผ่าน เมื่อเกิดการใช้งานบริเวณข้อศอกด้านนอกเป็นระยะเวลานานหรือออกแรงมากเกินไป จะทำให้เส้นลมปราณเอ็นมือหยางหมิง (手阳明经筋)ได้รับบาดเจ็บ ในระยะเฉียบพลันจะมีอาการปวด บวม แดงและร้อน เมื่อกระทบความร้อนอาการปวดจะมากขึ้น หรือความเย็นจากภายนอกเข้ามากระทบเส้นเอ็น ทำให้การไหเวียนของชี่และเลือดติดขัด พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อศอกถูกจำกัด เมื่อกระทบความเย็นอาการปวดมากขึ้น ในระยะเรื้อรัง การไหลเวียนของชี่และเลือดติดขัดเป็นระยะเวลานาน เส้นลมปราณและเส้นเลือดอุดกลั้น ส่งผลให้เส้นเอ็นยืดติดกัน ก่อให้เกิดอาการปวด

โดยการรักษาในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน จะใช้การฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า หรือการฝังเข็มร่วมกับโคมร้อน ในการรักษาเพื่อลดอาการปวดเป็นหลัก และบางกรณีอาจใช้การครอบแก้วเพื่อคลายกล้ามเนื้อ สำหรับบางกรณีที่มีการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณสะบักหรือต้นแขนร่วมด้วย

 

 

หมอจีนมาแนะ!6 จุด แก้อาการบ้านหมุน ในเบื้องต้น

1. จุดชวีฉือ (曲池พับข้อศอก จุดจะอยู่ตรงปลายรอยพับข้อศอกฝั่งด้านนอก

2. จุดโส่วซานหลี่ (手三里เมื่องอข้อศอก จุดจะอยู่ด้านหน้าต่ำกว่าข้อพับแขนประมาณ 3 นิ้วมือ

3. จุดโส่วอู๋หลี่ (手五里) จุดอยู่บริเวณต้นแขน อยู่เหนือรอยพับข้อศอก ขึ้นมา 4 นิ้วมือ

4. จุดฉื่อเจ๋อ (尺泽穴) เมื่องอข้อศอก จุดจะอยู่บริเวณร่องข้อพับระหว่างข้อศอกฝั่งของนิ้วหัวแม่มือ

5. จุดเส้าห่าย (少海พับข้อศอก จุดจะอยู่ตรงปลายรอยพับข้อศอกฝั่งด้านใน

6. จุดหยางหลิงฉวน (阳陵泉) ใต้ข้อเข่า ไปตามแนวขาท่อนล่างด้านนอก ขึ้นไปด้านบน เมื่อเบนออกจะพบแอ่งเว้าลงไป

 

*** แต่ละจุดใช้วิธีการนวดคลึงเบาๆ 1-3 นาที

***การดูแลเหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยในเบื้องต้น ถ้าคนไข้มีอาการมากและยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ

Share article :

บทความอื่น ๆ