ปวดศีรษะข้างเดียวหรือที่เรียกว่าปวดศีรษะไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษ โดยมีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ และอาจพบจากประวัติทางกรรมพันธุ์ได้ด้วย สาเหตุส่วนใหญ่นั้นเกิดจากความเครียดเป็นอาการที่พบได้บ่อยครั้งที่สุด
ในมุมมองแพทย์จีน จัดอาการอาการปวดศีรษะจัดเป็น โรคโถวท่ง “头痛” ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน ในทางการแพทย์แผนจีน
- ปัจจัยภายนอก อาทิเช่น ลมเย็น ลมร้อน ลมชื้น เป็นต้น
- ปัจจัยภายใน นั้นมักมีความสัมพันธ์กับอวัยวะตับ ม้ามและไต เช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะไตอินพร่อง ส่งผลให้หยางของตับลอยขึ้นสู่เบื้องบน ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นได้ หรือในผู้ที่มีภาวะกดดันทางอารมณ์ จะทำให้ชี่ตับไม่ระบาย ชี่ติดขัดเกิดเป็นไฟลอยสู่เบื้องบน หรือการทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ตรงเวลา ร่วมกับการทำงานหนักเกินไป จะทำให้การย่อยและดูดซึมสารอาหารของม้ามเสียสมดุล เกิดเป็นเสมหะและของเสียต่างๆอุดกั้นที่จงเจียว ส่งผลให้การส่งต่อสารสำคัญไปเบื้องบนและขับของเสียลงเบื้องล่างสูญเสียไป จนเกิดอาการปวดศีรษะขึ้น เป็นต้น นอกจากสาเหตุจากอวัยวะทั้ง 3 แล้ว ภาวะชี่และเลือดพร่อง ภาวะชี่และเลือดติดขัด ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดศีรษะได้เช่นกัน
โดยการรักษาจะเป็นการฝังเข็ม การครอบแก้ว หรือการใช้ยาสมุนไพรจีน โดยการฝังเข็มจะเป็นการคลายกล้ามเนื้อ หรือคลายปมจุดกดเจ็บ (Trigger Point) ที่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เลือดไม่ไหลเวียนจึงเกิดอาการปวดขึ้นได้ สลายเลือดคั่ง กระตุ้นการไหลเวียนเลือด เป็นหลัก ส่วนการครอบแก้ว จะเป็นการคลายกล้ามเนื้อในส่วนที่ตึงตัว เพื่อดึงเลือดเสียที่อยู่ชั้นใต้ผิวหนัง และทำให้เลือดใหม่ไปหล่อเลี้ยงได้เต็มที่ จะช่วยลดอาการปวดได้ ส่วนการใช้ยาสมุนไพรจีน จะเป็นการรักษาและปรับสมดุล ดูแลอวัยวะภายในนั่นเอง
หมอจีนมาแนะ!6 จุด แก้อาการบ้านหมุน ในเบื้องต้น
1. จุดซ่วยกู่ (率谷穴) จุดจะอยู่บริเวณขมับ อยู่เหนือแนวชายผมตรงยอดใบหูขึ้นไป 2 นิ้วมือ
2. จุดไท่หยาง (太阳穴) จุดที่อยู่ตรงรอยบุ๋มบริเวณขมับ เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วกับหางตา
3. จุดเฟิงฉือ (风池穴) จุดจะอยู่ใต้ฐานกะโหลกศีรษะ อยู่เหนือชายผมด้านหลังขึ้นไป 1 นิ้วมือ จะเจอรอยบุ๋ม
4. จุดเจียนจิ่ง(肩井穴) กึ่งกลางบ่า ระหว่างกระดูกต้นคอถึงหัวไหล่
5. จุดอี้เฟิง (翳风穴) จุดจะอยู่หลังติ่งหูรอยบุ๋มใต้กกหู
6. จุดไท่ชง (太冲穴) อยู่บริเวณหลังเท้าตรงแอ่งกระดูกระหว่างนิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้
*** แต่ละจุดใช้วิธีการนวดคลึงเบาๆ 1-3 นาที
***การดูแลเหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยในเบื้องต้น ถ้าคนไข้มีอาการมากและยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ