“ปวดเข่า เข่าลั่น” กับการรักษาในทางศาตร์การแพทย์แผนจีน

รู้หรือไม่? อาการปวดเข่า หัวเข่าลั่น หรือมีเสียงกร๊อบแกร๊บในเข่า อาจเกิดจาก “ข้อเข่าเสื่อม”

 

เสียงดังในเข่า เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง ? 

โดยปกติมักเกิดจากความผิดปกติของข้อเข่า หรือมาจากโรคต่างๆ จากอวัยวะบริเวณหัวเข่า มักจะมีอาการปวดร่วมด้วย ได้แก่
1. โรคข้อเข่าเสื่อม มักจะเกิดจากอายุที่สูงมากขึ้นตามวัย มีอาการปวดร่วมในข้อเข่าร่วมด้วย
2. การประสบอุบัติเหตุบริเวณกระดูกอ่อน เช่น การออกกำลังกายผิดวิธี
3. โรคข้อเข่าอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการลงน้ำหนักเท้าที่ผิดวิธี และการยกของหนัก
4. หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น การหกล้ม หรือการลงน้ำหนักบริเวณหัวเข่าแล้วเกิดการบิดของหัวเข่าขั้น
5. โรคข้อเข่าติดเชื้อ สังเกตได้ด้วยภายนอกบริเวณหัวเข่า จะมีลักษณะบวม แดง ร่วมกับอาการปวดข้อเข่า และมีไข้

 

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the knee – OA)  เป็นรูปแบบของ “โรคข้ออักเสบ” ที่พบบ่อยมากที่สุด เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อต่อที่มีการใช้งานเยอะ และรองรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเกิดอาการสึกหรอ ฉีกขาด และเสื่อมสภาพตามช่วงอายุและปัจจัยหลายๆ ด้าน เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกหรอมากขึ้น จึงก่อให้เกิดอาการปวดเข่าขึ้น และยังไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในข้อเข่าอีกด้วย ซึ่งหากปล่อยให้มีอาการรุนแรง ผิวข้อมีความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ

 

อาการที่สามารถสังเกตุได้เอง

  • จะมีเสียงลั่นในข้อร่วมกับมีอาการปวดหัวเข่า
  • รู้สึกฝืดๆ เวลาขยับหัวเข่า เหมือนมีอะไรขัดๆ อยู่ข้างใน
  • นั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิแล้วรู้สึกเจ็บ
  • ตื่นนอนตอนเช้า บางวันจะรู้สึกเหมือนหัวเข่าฝืดขัด
  • ข้อเข่าผิดรูป หรือมีอาการบวม

 

ในทางการแพทย์แผนจีน กล่าวว่า โรคข้อเข่าเสื่อม  (膝骨关节炎) เกิดจากลม ความเย็น ความชื้นมากระทบทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่พบบ่อย ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนอธิบายว่า อาการปวดเข่าเกิดขึ้นจาก มีการอุดกั้นของพลังลมปราณา โดยการรักษาในทางแพทย์แผนจีนจะช่วยทำให้ลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น ช่วยแก้ไขการอุดกั้นของลมปราณ และยังช่วยลดการอักเสบ และกระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาให้มีแรงพยุงน้ำหนักตัว เพื่อไม่ให้ไปกดข้อเข่ามากจนเกินไปได้อีก

 

 

หมอจีนมาแนะ!5 จุด แก้อาการปวดเข่า ในเบื้องต้น

1. จุดเห้อติ่ง (鹤顶穴) อยู่บริเวณเหนือเข่า ตรงรอยบุ๋มกึ่งกลางขอบบนของกระดูกสะบ้า

2. จุดเน่ยซีเอี่ยน (内膝眼穴) อยู่บริเวณใต้กระดูกสะบ้าเข่า เมื่องอเข่าจุดนี้อยู่ตรงรอยบุ๋มด้านในของขอบเส้นเอ็นลูกสะบ้า

3. จุดตู๋ปี๋ / ไว่ซีเอี่ยน   (犊鼻 / 外膝眼穴) อยู่บริเวณใต้กระดูกสะบ้าเข่า เมื่องอเข่าจุดนี้อยู่ตรงรอยบุ๋มด้านนอกของขอบเส้นเอ็น

4. จุดจู๋ซานหลี่ (足三里穴) อยู่ใต้สะบ้าหัวเข่าล่างลงไปประมาณ 3 นิ้ว โดยจะอยู่บริเวณข้างกระดูกหน้าแข้งด้านนอก

5. จุดหยางหลิงฉวน (阳陵泉穴) จุดจะอยู่เหนือจุดจู๋ซานหลี่ และจุดอยู่หน้ากระดูกขา (Fibula) ต่ำกว่ากระดูกขาเล็กน้อย

 

*** แต่ละจุดใช้วิธีการนวดคลึงเบาๆ 1-3 นาที

***การดูแลเหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยในเบื้องต้น ถ้าคนไข้มีอาการมากและยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ

 

 

Share article :

บทความอื่น ๆ

“หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Disc) คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท

Read More »