“อาการบ้านหมุน” กับการรักษาในทางแพทย์แผนจีน

อาการบ้านหมุน (Vertigo) เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายในหูชั้นในที่ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรู้สึกเหมือนบ้านหรือสิ่งของที่มองเห็นได้หมุนเฉียบพลัน ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

 

 

ข้อแตกต่างระหว่างอาการเวียนศีรษะ VS เวียนศีรษะบ้านหมุน

 

อาการเวียนศีรษะ (Dizziness) โดยทั่วไปมีลักษณะอาการตั้งแต่มึนศีรษะ งุนงง โคลงเคลง ไม่มั่นใจ หวิว ๆ โหวง ๆ ยืนเดินทรงตัวไม่ดี อาจงง มักมีสาเหตุมาจากสภาวะต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งต่างกับอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) ที่จะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนหรือตนเองกำลังหมุนไปทั้งที่อยู่กับที่ หรือรู้สึกโคลงเคลงทั้งที่อยู่กับที่หรือไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะรับการทรงตัวของหูชั้นในที่คอยดูแลสมดุลของร่างกาย ซึ่งถ้าหากมีอาการรุนแรงจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ มีเสียงในหู เป็นต้น

 

 

ในทางแพทย์จีนบ้านหมุน หรือเสวียน-ยวิน (眩晕) สาเหตุการเกิดอาการเวียนหัวมีมากมายจึงไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดจากการสังเกต จึงต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์จีน โดยกลไกเกิดจาก ม้ามกระเพาะอาหารพร่องทำให้เกิดเสมหะ การขาดสารอาหาร อินตับพร่องทำให้เลือดพร่อง หยางตับแกร่งทำให้เกิดไฟนานเข้าทำให้เกิดลม หรือภาวะเลือดคั่ง

โดยการรักษาจะใช้การฝังเข็มหรือยาสมุนไพรจีน เพื่อลดอาการวิงเวียนศีรษะ สงบตับบำรุงหยางชี่ ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร ขับเสมหะ และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ไหลเวียนได้อย่างทั่วถึง

 

หมอจีนมาแนะ!6 จุด แก้อาการบ้านหมุน ในเบื้องต้น

1. จุดเน่ยกวน (内关穴จุดจะอยู่ห่างจากเส้นข้อมือระหว่างเอ็นทั้งสอง โดยห่างจากเส้นข้อมือประมาณ 2 นิ้ว

2. จุดไท่ชง (太冲穴) จุดจะอยู่บนบริเวณหลังเท้าแอ่งกระดูกระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้

3. จุดซานอินเจียว (三阴交穴) จุดจะอยู่บริเวณขาด้านใน เหนือยอดตาตุ่มขึ้นมา 4 นิ้วมือ ชิดขอบหลังของกระดูกหน้าแข้ง

4. จุดจู๋ซานหลี่ (足三里穴) อยู่ใต้สะบ้าหัวเข่าล่างลงไปประมาณ 3 นิ้ว โดยจะอยู่บริเวณข้างกระดูกหน้าแข้งด้านนอก

5. จุดเหอกู่ (合谷穴) จุดจะอยู่ที่ด้านหลังของมือ เป็นจุดที่อยู่ตรงกลางระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้

6. จุดป๋ายฮุ่ย (百会穴) จุดจะอยู่บริเวณกลางศีรษะ โดยใช้นิ้วลากจากยอดใบหูทั้งสองข้างไปบรรจบกันบริเวณกลางศีรษะ แนวกึ่งกลางเดียวกับสันจมูก

 

*** แต่ละจุดใช้วิธีการนวดคลึงเบาๆ 1-3 นาที

***การดูแลเหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยในเบื้องต้น ถ้าคนไข้มีอาการมากและยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ

Share article :

บทความอื่น ๆ

“หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Disc) คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท

Read More »