“ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง คือ สภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองได้ได้ มักเกิดขึ้นในข้างอ่อนแรง ทางการแพทย์เราเรียกอาการนี้ว่า “Spasticity” Spasticity เกิดขึ้นเมื่อสมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทำให้เกิดความผิดปกติของแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle tone) อาการเกร็งจะเกิดขึ้นเมื่อ คนไข้หาว ไอ ออกแรงมากเกินไป หรือมีแรงกระตุ้นจากภายนอกที่ไม่เหมาะสม สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแขนและขาตามตำแหน่งสมองที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่ มักจะเกิดขึ้นที่แขนในลักษณะ เกร็งงอที่ข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ ส่วนขาจะพบการเกร็งหนีบสะโพก เกร็งเหยียดเข่า และเกร็งถีบปลายเท้า ระดับความแรงของการเกร็งเปลี่ยนแปลงตามการดำเนินโรค ในทางการแพทย์แผนจีนเรียก ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง ว่า 痉挛 สามารถรักษาได้ทางศาสตร์แพทย์จีน จะเน้นการคลายกล้ามเนื้อที่กำลังหดตัวให้คลายออกเป็นหลัก
5 ยาดี…ในการดูแลสุขภาพ แบบวิถีแพทย์จีน
🌟 การออกกำลังกาย คือยาบำรุงที่ดีที่สุด การออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพจากภายในสู่ภายนอกในแง่คิดของแพทย์แผนจีน คือ การเน้นการออกกำลังกายที่อาศัยชี่หรือลมปราณ เช่น โยคะ กังฟู ไทจิชี่กง เป็นต้น โดยจะใช้ความตั้งใจหรือสมาธิมากกว่ากำลัง มุ่งเน้นไปที่ความตั้งใจ ใช้ความตั้งใจในการดึงพลังชี่ และใช้พลังชี่เพื่อขยับแขนขา ซึ่งจะสามารถทำให้ชี่และเลือดไหลเวียนได้ดีมากขึ้น พละกำลังจะแข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย 🌟 การเดินรับแดดในตอนเช้า คือยาที่หาได้ง่ายที่สุด ในตำราแพทย์จีนหวงตี้เน่ยจิง ชี้ให้เห็นว่า พลังของหยางชี่เป็นรากฐานของการรักษาสุขภาพที่ดีและการรักษาโรค โดยดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหยางที่ใหญ่ที่สุดในธรรมชาติ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการอาบแดด เป็นการเติมพลังหยางของร่างกายที่ดีที่สุด ซึ่งโดยให้อวัยวะโดนแสงแดดดังนี้ หัว ช่วยควบคุมพลังชี่ของหยางได้ หลัง ช่วยควบคุมการไหลเวียนของชี่และเลือด ฝ่ามือ ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้าและส่งเสริมการนอนหลับได้ 🌟 การทำจิตใจให้สงบ คือยาที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดได้ดีที่สุด ในแพทย์จีน กล่าวว่า หัวใจคืออวัยวะที่ควบคุมเลือด ซึ่งถ้าใช้แรงงานมากเกินไปและการคิดมากอาจทำให้ชี่ของหัวใจและเลือดติดขัด ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก นอนไม่หลับ และความจำเสื่อม โดยการทำจิตใจให้สงบจะช่วยให้ การไหลเวียนของชี่หัวใจและเลือดได้ดีมากขึ้น อีกทางเลือกหนึ่งอาหารที่บำรุงหัวใจ […]
“หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Disc) คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ หมอนรองกระดูกจะทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีของกระดูกสันหลัง โดยปกติแล้วอาการของกลุ่มโรคนี้จะไม่แสดงอาการปวดบริเวณเอว แต่ออกมาเป็นอาการชาเสียมากกว่า โดยอาการชานั้นจะไม่ใช่อาการชาทั้งขา แต่จะมีอาการตามแนวเส้นประสาทตามข้อ สาเหตุการเกิดโรค หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้จากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ซึ่งปัจจัยในเรื่องของอายุมีผลมากทีเดียว เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกที่เป็นเมือกใสจะสูญเสียความยืดหยุ่นไป จึงทำให้มีโอกาสที่จะเลื่อนไปโดนเส้นประสาท และสิ่งที่เร่งให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้เร็วก็คือ ลักษณะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น บางคนทำงานยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก การเล่นกีฬาที่ต้องส่งแรงกระแทกซ้ำๆ ไปที่หมอนรองกระดูก การเคลื่อนไหวผิดท่าทางโดยฉับพลัน บางคนรับประทานมากจนทำให้อ้วน ก็ส่งผลต่อหมอนรองกระดูกเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งทำให้เกิด หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือเกิดการฉีกขาดจนเป็น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้ การแพทย์จีนได้จัดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อย (痹症) จากเส้นลมปราณติดขัด ซึ่งมีสาเหตุจากพลังลมปราณพร่องลงตามวัย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเกิดภาวะเลือดคั่ง กีดขวางการไหลเวียนของโลหิตจนเกิดอาการปวด ซึ้งจะมี2 ระยะคือระยะเฉียบพลัน(ไม่เกิน6 เดือน) จะรักษาได้ผลดี และและระยะเรื้อรัง(เกิน6 เดือนขึ้นไป) จะรักาษาเห็นผลค่อนข้างช้า การรักษาสามารถรักษาได้หลากหลายวิธี ในทางแพทย์แผนจีน จุดประสงค์พื่อปรับการไหลเลือดฟื้นฟูหมอนรองกระดูก การคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่มีการตึงตัวมากจนเกินไป […]
“กล้ามเนื้ออ่อนแรง กิลแลง-บาร์เร” กับการรักษาในทางแพทย์แผนจีน
🌟 กล้ามเนื้ออ่อนแรง กิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre syndrome: GBS) กลุ่มอาการทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พบได้น้อยและไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไปมากนัก แล้วทำไมทุกคนต้องรู้จัก กลุ่มอาการนี้สำคัญอย่างไร มาติดตามกันค่ะ กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre syndrome: GBS) หรือ โรคอัมพาตเฉียบพลัน เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของระบบประสาทส่วนปลายอย่างเฉียบพลัน โรค GBS จัดว่าเป็นโรคในกลุ่มภูมิต้านทานทำลายตนเอง (Autoimmune disease) โดยระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเส้นประสาทในส่วนของปลอกประสาท(myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system; PNS) ประกอบด้วย peripheral nerve และ spinal nerve root จากการสำรวจพบว่า ในประชากร 100,000 คน พบผู้ป่วย GBS 0.8-1.9โดยความเสี่ยงของการเป็นโรคจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ อัตราส่วนของผู้ป่วยพบว่า โรค GBS พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ✨ ในทางแพทย์จีนจัดโรค […]
“โรคปลอกประสาทอักเสบของ ระบบประสาทส่วนกลางชนิดเอ็นเอ็มโอ” กับการรักษาในทางแพทย์แผนจีน
โรคปลอกประสาทอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางชนิดเอ็นเอ็มโอ (Neuromyelitisoptica; NMO) เป็นโรคของระบบประสาทส่วนกลางที่มีการอักเสบของปลอกประสาท ซึ่งเมื่อมีการอักเสบของปลอกประสาท ส่งผลให้การนำกระแสประสาทของอวัยวะนั้นผิดปกติ ทำให้เกิดอาการแสดงของโรค เช่น เส้นประสาทตาอักเสบ หรือไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น โรคปลอกประสาทอักเสบ (demyelinating disease) ของระบบประสาทส่วนกลาง ชนิดที่พบบ่อยมี 2 โรค ได้แก่ มัลติเพิลสเคอโรสิสหรือเอ็มเอส (multiple sclerosis หรือ MS) และนิวโรมัยอิลัยติสออฟติกาหรือเอ็นเอ็มโอ (neuromyelitis optica หรือ NMO) ทั้งสองโรคมีลักษณะอาการและอาการแสดงคล้ายกัน แต่มีความแตกต่างกันในส่วนของสาเหตุ กลไกการเกิดโรค รวมถึงการรักษา โดยโรคปลอกประสาทอักเสบชนิดเอ็นเอ็มโอ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ปัจจัยที่อาจมีส่วนทำให้เกิดโรค ได้แก่ กรรมพันธุ์ ชนชาติ เชื้อไวรัสบางชนิด (เชื้ออีบีวี) เป็นต้น มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้ตั้งแต่ผู้ป่วยอายุน้อยจนถึงอายุมากกว่า 80 ปี พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ อายุเฉลี่ยประมาณ 40 […]
รู้หรือไม่ ? “อาการนอนกรน” ฝังเข็ม…ก็ช่วยได้นะ!!!
✨ นอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) เกิดจาก เวลาที่เรานอนหลับ กล้ามเนื้อต่างๆจะคลายตัว ทำให้หย่อนมาปิดทางเดินหายใจของเรามากกว่าปกติ ลมที่ผ่านเข้าออกรูที่เล็กลง จึงทำให้เกิดเสียงกรนได้ คนทั่วไปสามารถกรนได้บ้างเป็นปกติ 🌟 ในทางแพทย์จีนเชื่อว่า การนอนกรนโดยทั่วไปเกิดจากโรคทางหู คอ จมูก แผลในช่องปาก และสาเหตุอื่นๆ หากผู้ป่วยเป็นโรคหู คอ จมูก และไม่ได้รับการรักษาทันเวลา หรือต่อมทอนซิลโตมากเกินไป อาจทำให้เกิดการนอนกรนได้ และอีกสาเหตุหนึ่งนั้น เกิดจากการบกพร่องของการทำงานของปอดและม้าม ดังนั้น หลักการรักษาโดยหลักคือการบำรุงปอดและม้าม คลายเส้นเอ็น เพื่อให้ชี่และเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น สิ่งที่ต้องทำ ! เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการนอนกรน !!!
“ไขสันหลังอักเสบเฉียบพลัน” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
✨ ไขสันหลังอักเสบเฉียบพลัน (Acute transverse myelitis) คือ การอักเสบ ของเนื้อเยื่อประสาทตรงระดับใดระดับหนึ่งของไขสันหลัง ทำให้เกิดการขัดขวางการส่งทอดกระแสประสาท เป็นเหตุให้เกิดอาการอัมพาตอย่างฉับพลันของทั้ง 2 ข้าง (อัมพาตครึ่งล่าง) หรือแขนขาทั้ง 4 ข้าง (อัมพาตหมดทั้งแขนขา) โรคนี้มักเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อไวรัส เช่น เริม อีสุกอีใส งูสวัด หัดเยอรมัน ไวรัสเอนเทอโร เอชไอวี ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น แบคทีเรีย เช่น วัณโรค ซิฟิลิสไมโคพลาสมา เป็นต้น หรือหลังการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ✨ในทางแพทย์แผนจีนวินิจฉัยโรคนี้ว่า “软脚瘟 ” (โรคติดต่อร้ายแรงทำให้เกิดขาอ่อนแรง) กลไกการเกิดของโรคนี้คือการพร่องของสารน้ำในร่างกายสารจิงและเลือด ทำให้เกิดการสูญเสียการไปหล่อเลี้ยงที่เส้นเอ็นและหลอดเลือดแดง
แพทย์แผนจีนฝังเข็ม “แก้สะอึก” ได้จริงหรือ ?
✨ ในทางแพทย์แผนจีน วินิจฉัยอาการสะอึกออกเป็น 3 สาเหตุได้แก่ เกิดจากอาหารตกค้างไม่ย่อย จะมีอาการะอึกเสียงดังและใส ท้องอืดแน่น ปวดท้อง เรอบ่อย มีกลิ่นปาก เบื่ออาหาร เกิดจากอาการชี่ติดขัด จะมีอาการและการแสดงออก สะอึกเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง และอาการเป็นมากขึ้นเมื่อเกิดอารมณ์เสีย รู้สึกปวดแน่นในช่วงทรวงอกและใต้ชายโครง เกิดจากมีความเย็นในกระเพาะอาหาร จะมีอาการเมื่อเจออากาศเย็นจะเกิดอาการสะอึก เมื่ออากาศอุ่นอาการจะดีขึ้น ✨ คำแนะนำในการดูแลตัวเองในทางแพทย์แผนจีน ควรดื่มน้ำอุณหภูมิห้องวันละ 3 ลิตร โดยใช้การจิบเรื่อย ๆ ทั้งวัน แต่หากสะอึกเป็นระยะเวลาสั้นๆ ไม่นานนัก แต่เป็นหลายครั้ง อาจสังเกตจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ ว่ามีความสัมพันธ์กับการสะอึกหรือไม่ ถ้าสัมพันธ์กัน ก็ควรจะปรับเปลี่ยนกิจวัตรเหล่านั้น ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการสะอึกไม่หยุดนานกว่า 1 วัน มีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกวิงเวียนร่วมด้วย หรือสะอึกทุกครั้งหลังจากรับประทานยาที่แพทย์จัดให้ ซึ่งอาการสะอึกไม่ได้ร้ายแรงอะไร แต่เพียงจะก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้ที่เป็นแค่นั้นเอง
เลือดไหลเวียนไม่ดี…ทำให้ “ปวดกล้ามเนื้อ” ได้ด้วยหรือ ?
🌟 ในทางแพทย์จีนเชื่อว่า อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและสิ่งเร้าจากภายนอกทำให้เกิดการอุดตันของเส้นลมปราณซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนของชี่และเลือด หรือชี่ เลือด สาระสำคัญ และของเหลวในร่างกายไม่เพียงพอ และสูญเสียการหล่อเลี้ยงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ส่งผลให้ เกิดอาการปวด จัดอยู่ในกลุ่มอาการปีเจิ้ง (痹症)ซึ่งมีสาเหตุจาก ลม ความเย็น ความชื้น เลือดคั่ง ชี่และเลือดพร่อง มากระทำต่อเส้นลมปราณ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ช้าลง เกิดภาวะเลือดคั่งและชี่ติดขัด รบกวนการไหลเวียนของเลือดและชี่ (不通则痛) หรือไม่สามารถนำเลือดและชี่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณต่างๆของร่างกายได้ (不荣则痛) จนเกิดอาการปวด 🌟 การขาดชี่และเลือดในร่างกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทั้งกล้ามเนื้อและกระดูกทั่วร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้ อีกทั้งการขาดชี่และเลือดยังส่งผลให้เกิดอาการต่างๆได้ เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ นอนไม่หลับ เพ้อฝัน และอ่อนเพลียร่วมด้วยได้ ซึ่งสาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการชี่และเลือดไม่พอเหล่านี้ เกิดได้จาก การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย และการทำงานหนักที่มากเกินไปนั่นเอง อาการสำคัญที่พบได้บ่อยในกลุ่มของชี่และเลือดไม่พอ หายใจสั่น ไม่มีแรง รู้สึกโหวงๆข้างใน นอนไม่หลับ ฝันบ่อยตอนกลางคืน และตื่นง่าย หายใจไม่สะดวก รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา วิงเวียนศีรษะ ตาแห้งและตาล้าบ่อย ผมงอกก่อนวัย แห้งและหลุดร่วงง่าย […]
“เสียงแหบ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
เสียงแหบ (Hoarseness) คือ ภาวะที่มีเสียงเปลี่ยนผิดปกติไปจากเดิม เช่น เสียงเบาลง เสียงหยาบ เสียงเค้น เสียงสูงหรือต่ำกว่าปกติ ไม่มีเสียง เสียงขาดหาย เป็นช่วงๆ หรือ อาการที่เสียงเกิดความเปลี่ยนแปลงหรือมีความผิดปกติ มีระดับสูง-ต่ำหรือความดังของเสียงที่เปลี่ยนแปลงไป มีเสียงหายใจแทรก หรือต้องออกแรงในการเปล่งเสียง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มักเกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับเส้นเสียงในกล่องเสียง (Larynx) ในทางการแพทย์แผนจีนเรียก อาการเสียงแหบว่า ” 喉瘖 “ โดยจะจำแนกสาเหตุและอาการออกเป็นกลุ่มอาการแกร่งและพร่อง ซึ่งสาเหตุกลุ่มอาการแกร่งนั้นเกิดจาก ลมหรือความร้อนภายนอกกระทบปอด เลือดคั่งหรือเสมหะคั่งค้างภายในปอด ทำให้ชี่ปอดไม่กระจายซึ่งพบในระยะแรกของโรคเสียงแหบหรือเสียงหาย โดยทางแพทย์แผนจีนเรียกว่า “ปอดแกร่งเสียงหาย (金实不鸣)” ส่วนสาเหตุของกลุ่มอาการพร่องนั้น เกิดจาก อวัยวะภายในอ่อนแอ ปอดและไตขาดการหล่อเลี้ยงจะพบมากในผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง โดยทางแพทย์แผนจีน เรียกกลุ่มอาการพร่องนี้ว่า “ปอดพร่องเสียงหาย (金破不鸣)” ซึ่งในทางการแพทย์แผนจีน จำแนกสาเหตุการเกิดหลักๆ ได้ดังนี้ ลมหนาวกระทบปอด (风寒袭肺) : ลมหนาวภายนอกกระทบปอด ทำให้ชี่ของปอดไหลเวียนได้ไม่สะดวก อีกทั้งลมหนาวไปอุดกลั้นกล่องเสียง […]
“โรคต่อมน้ำลายอักเสบ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคต่อมน้ำลายอักเสบ (Salivary Gland Infections ; Sialadinitis หรือ Sialoadenitis) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสซึ่งส่งผลให้ต่อมน้ำลายหรือท่อน้ำลายเกิดอาการอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อจะทำให้การไหลของน้ำลายลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น เจ็บในปาก หน้าบวม คอบวม คางบวม เป็นต้น ในทางการแพทย์แผนจีนจะเรียก โรคต่อมน้ำลายอักเสบ ว่า 唾液腺炎症 ในทางภาษาจีน แต่ยังไม่มีชื่อเรียกหรือคำจำกัดความอย่างแน่ชัดในแพทย์แผนจีนเชื่อว่าการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นปัจจัยก่อโรคภายนอกที่บุกรุกเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ หรือเมื่อลมปราณต้านทานโรคของร่างกายมนุษย์ไม่เพียงพอและไม่สามารถต้านทานได้ ก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแอและทำให้เกิดโรคได้ โดยการรักษาทางศาตร์การแพทย์แผนจีนสำหรับโรคต่อมน้ำลายอักเสบนั้น จะเป็นการรักษาในด้านการขับร้อน ลดการอักเสบเป็นสำคัญ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ยาสมุนไพรจีนในการรักษา ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเป็นอย่างมาก
“โรคภูมิแพ้” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคภูมิแพ้ (hypersensitivity) เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายอย่างผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ ส่งผลให้มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในอวัยวะที่สัมผัสหรือไวต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ตัวไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ อาหาร ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น ซึ่งในร่างกายคนปกติจะแพ้สารก่อภูมิแพ้ได้น้อยมากหรืออาจจะไม่มีอาการ ส่วนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้แต่ละรายจะมีอาการเกิดขึ้นแตกต่างกันและรุนแรงไม่เท่ากัน แม้จะเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกันก็ตาม ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของอวัยวะนั้นๆ ในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน “โรคภูมิแพ้” หรือ “过敏性疾病”เกิดจากร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไวมากเกินไป มีสาเหตุมาจาก อาหาร อากาศ สภาพแวดล้อม รวมถึงแนวโน้มจากพันธุกรรม โดยอาการแพ้ต่างๆนั้นเกิดจากการที่เจิ้งชี่ในร่างกายความไม่เพียงพอ จึงทำให้ความต้านทานต่อสารพิษภายนอกและสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ลมเย็น หรือความชื้น นั้นลดลง จนทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่างๆได้ง่าย และทำให้อวัยวะภายในเสียสมดุลได้แก่ ปอด ม้าม ไต นั่นเอง ซึ่งสามารถจำแนกสาเหตุการเกิดโรคได้ ดังนี้ ลมเสียกระทบปอด (风邪犯肺): ลมคือสาเหตุส่วนใหญ่ในการเกิดโรคจากภายนอก ซึ่งอาการภูมิแพ้นั้น มักเกิดจากลมเป็นส่วนใหญ่ โดยลมเสียนั้นจะกระตุ้นให้สูยเสียพลังชี่ของปอด จึงทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย ปอดม้ามไตพร่อง (肺脾肾虚) : ปอด […]
แนะนำ “หมอผิน” แพทย์แผนจีนประจำศรีริกุลคลินิก – Sririkul Clinic
แพทย์จีน พงศ์พัฒน์ ศรีวัฒนาศิริกุล “หมอผิน” (ฉวี เชี๋ยน ผิง) 徐显平 中医师 Dr.Phongphat Sriwattanasirikul (CM.D.) เลขที่ใบประกอบศิลปะ พจ.1383 ประวัติการศึกษา ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนจีน (พจ.บ.) หลักสูตรร่วม 2 สถาบัน มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเหลียวหนิง ประเทศจีน และ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ประสบการณ์การทำงาน ผู้ช่วยแพทย์ คลินิก อี้ฟู่ถัง กรุงเทพฯ 1 ปี แพทย์แผนจีนที่คลินิกมูลนิธิรักษ์ประชา กรุงเทพฯ 5 ปี แพทย์แผนจีนพาร์ทไทม์ที่เปี่ยมรักษ์คลินิกการแพทย์แผนจีน พิษณุโลก ครึ่งปี ประสบการณ์การรักษา การรักษาด้วยยาจีนโรคอายุรกรรมทั่วไป เช่น ระบบภายในต่างๆ, ระบบประสาท, ระบบขับถ่าย, ระบบหมุนเวียนเลือด, ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น การฝังเข็มรักษาอาการปวดทั้งหมดเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เช่น […]
แนะนำ “หมออีฟ” แพทย์แผนจีนประจำศรีริกุลคลินิก – Sririkul Clinic
แพทย์จีน รัชต์วดี สุขสำราญอนันต์ ” หมออีฟ ” (ซู หลาน ตี้) 苏兰娣 中医师 Dr.Ratwadee Suksamrananan (CM.D.) เลขที่ใบประกอบศิลปะ พจ.1699 ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต (พจ.บ.) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน หลักสูตรร่วม 2 สถาบัน มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนกว่างซี ประเทศจีน และ มหาวิทยาลัยพะเยา เกียรตินิยม ประสบการณ์การทำงาน เแพทย์แผนจีนประจำเปี่ยมรักษ์คลินิกการแพทย์แผนจีน พิษณุโลก 1 ปี ประสบการณ์การรักษา อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กลุ่มอาการปวดและชาต่างๆ เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่, ออฟฟิศซินโดรม, ปวดเข่า, กระดูกทับเส้น เป็นต้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง, อัมพฤกษ์ อัมพาต […]
แนะนำ “หมอเฉิน” แพทย์แผนจีนประจำศรีริกุลคลินิก – Sririkul Clinic
แพทย์จีน คุณากร ศรีวัฒาศิริกุล /หมอเฉิน (ฉวี เชี๋ยน เฉิง) 徐显成 中医师 Dr.Kunakorn Sriwattanasirikul (CM.D.) เลขที่ใบประกอบศิลปะ พจ.1303 ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนจีน (พจ.บ.) หลักสูตรร่วม 2 สถาบัน มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเหลียวหนิง ประเทศจีน และ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ประสบการณ์การทำงาน ผู้ช่วยแพทย์ คลินิก อี้ฟู่ถัง กรุงเทพฯ 1 ปี แพทย์แผนจีนที่เวลล์เบสสหคลินิกกายบำบัดและการแพทย์แผนจีน กรุงเทพฯ 3 ปี แพทย์แผนจีนที่เปี่ยมรักษ์คลินิกการแพทย์แผนจีน พิษณุโลก 1 ปี ประสบการณ์การรักษา การฝังเข็มรักษาโรคอายุรกรรมทั่วไป เช่น ระบบ ภายในต่างๆ, ระบบโครงร่าง, ระบบต่อมไร้ท่อ, ระบบหมุนเวียนเลือด, โรคผู้สูงวัย เป็นต้น อาการปวดทั้งหมดเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น, นวดทุยหนา, […]
“กรดไหลย้อน” กับการรักษา…ในทางแพทย์แผนจีน
กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง ในทางการแพทย์แผนจีน จะเรียก กรดไหลย้อน ว่า 吞酸 , 反酸 มีสาเหตุจากไฟตับลุกโชนและรุนแรงทำให้เกิดการเสียสมดุลระหว่างตับและกระเพาะอาหาร และสาเหตุจากภาวะเย็นพร่องของม้ามและกระเพาะอาหาร จากทั้งสองสาเหตุ จะนำไปสู่การล้มเหลวของการขนส่งอาหารและน้ำ ทำให้เกิดการไหลย้อนขึ้นของชี่ที่ไม่สะอาดได้ เป็น “กรดไหลย้อน” กินอะไรดี ? 1.อาหารโปรตีนที่ไขมันต่ำ อย่างเช่น เนื้อปลา ไก่ ไข่ขาว นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้ 2.อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ควรเน้นอาการที่มีไฟเบอร์หรือกากใยสูง อย่างเช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท […]
นวด 4 ท่า “แก้อาการปวดหัว” ฉบับคนใช้สายตาเยอะ…ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน
อาการปวดหัว ในทางการแพทย์แผนจีนเรียกว่า 头痛 จากการใช้สายตา ซึ่งในทางแพทย์จีนนั้น มีคำกล่าวไว้ว่า “ดวงตาเป็นทวารของตับ” หมายถึง อวัยวะตับมีเส้นลมปราณที่เชื่อมสัมพันธ์ไปยังดวงตา ปกติแล้วตับจะทำหน้าที่กักเก็บเลือด ดวงตาจะมองเห็นและมีประกายงดงามได้จะต้องได้รับเลือดจากกระบวนการทำงานของตับ ฉะนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับดวงตาไม่ว่าจะเป็นตาเหลือง ตาแดง แห้ง น้ำตาไหลมากหรือน้อยกว่าปกติ ฯลฯ แพทย์จีนจะวินิจฉัยเบื้องต้นว่าอาจเกิดจากความไม่สมดุลของการทำงานของตับและรวมไปถึงถุงน้ำดีด้วย เนื่องจากตับและถุงน้ำดีเป็นอวัยวะตันและกลวงที่ทำงานคู่กัน มีเส้นลมปราณเชื่อมต่อถึงกันนั่นเอง ซึ่งจากอาการเหล่านี้ เมื่อเราใช้สายตามากจนเกินไปอาจทำให้มีอาการปวดหัวตามมาได้อีกด้วย “การดูแลเรื่องอารมณ์ก็สำคัญ” คนเรานั้นถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ทั้งสิ้น ในทางแพทย์จีนได้มีการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของอวัยวะกับอารมณ์ไว้ คัมภีร์เน่ยจิง ได้กล่าวว่า หัวใจควบคุมอารมณ์รักชอบ ตับควบคุมอารมณ์โกรธ ม้ามควบคุมอารมณ์ครุ่นคิด ปอดควบคุมอารมณ์โศกเศร้า ไตควบคุมอารมณ์ตกใจหรือกลัว นอกจากอวัยวะหัวใจเป็นส่วนหลักในการควบคุมอารมณ์แล้ว อวัยวะตับมีความสำคัญในการควบคุมการกระจายและระบายของชี่ด้วยเช่นเดียวกัน โดยปกติแล้วชี่กับเลือดจะไหลเวียนควบคู่กันไป คือ ชี่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเลือดในขณะเดียวกันเลือดก็จะผลักดันชี่ด้วย ดังนั้นควรควบคุมอารมณ์โมโหไว้ให้ดี เพราะถ้าเวลาโมโหจะทำให้ชี่วิ่งพุ่งขึ้นด้านบนทำให้มีอาการหน้าแดง ตาพร่ามัว ตาแดงเนื่องจากตับเปิดทวารที่ดวงตา ทำให้เกิดอาการปวดหัวต่างๆตามมาได้อีกด้วย วิธีการนวดกดจุด 4 ท่า […]
4 เมนูคลายร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ปัจจุบันผู้คนจำนวนมากให้ความสนใจกับการรักษาสุขภาพในแต่ละฤดู และเนื่องด้วยอากาศและอุณหภูมิในปัจจุบันค่อนข้างที่จะร้อนมาก ดังนั้นการรับประทานที่เหมาะสมในแต่ละฤดูก็จำเป็นเช่นกัน วันนี้ทางคลินิกจะมาแนะนำอาหารที่ควรกิน เพื่อที่จะช่วยในการคลายร้อนในช่วงฤดูร้อนกันค่ะ ผัดกระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเป็นอาหารที่ดีในช่วงฤดูร้อน และถือเป็นผักเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง สารหนืดของกระเจี๊ยบสามารถส่งเสริมการบีบตัวของทางเดินอาหารและหล่อลื่นข้อต่อ กระเจี๊ยบสามารถเสิร์ฟแบบเย็น ผัด หรือต้มในซุป น้ำแตงโม สรรพคุณของแตงโมในทางแพทย์จีนมีฤทธิ์ ขับร้อน สร้างสารน้ำในร่างกาย และช่วยขับปัสสาวะ ซึ่งเป็นอาหารที่ดีในช่วงหน้าร้อน โจ๊กถั่วเขียว ฤดูร้อนชอบทำโจ๊กถั่วเขียว นอกจากถั่วเขียวแล้ว คุณยังสามารถเพิ่มถั่วดำและถั่วแดง เพื่อให้กลายเป็น “โจ๊กสามถั่ว” ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า […]
“อาการบาดเจ็บจากเล่นกีฬา” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Sports Injuries) คือการเล่นกีฬาแล้วเกิดการกระทบกระทั่ง มีผู้อื่นมากระทำ หรือแม้แต่เสียหลักด้วยตัวเองแล้วเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อต่างๆ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันเสียไปหรือลดน้อยลง ความรุนแรงของอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา แบ่งออกเป็น 4 ระดับดังนี้ ระดับที่ 1 (Grade 1) กล้ามเนื้อยืด ไม่ฉีกขาด รู้สึกปวดเล็กน้อย และยังสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงสภาพปกติ ระดับที่ 2 (Grade 2) กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดเล็กน้อย กดเจ็บ มีอาการปวดหรือช้ำ เคลื่อนไหวและยังพอทำงานได้ ระดับที่ 3 (Grade 3) กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดปานกลาง ทำให้ไม่สามารถขยับได้สะดวก และมีอาการช้ำที่เห็นได้ชัด ระดับที่ 4 (Grade 4) กล้ามเนื้อฉีกขาดออกจากกัน ส่งผลให้ ข้อหลวม รู้สึกเจ็บปวดมาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ […]
“วัยทอง” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน ถ้าประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี แสดงว่ารังไข่ได้หยุดทำงานแล้ว และถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ โดยอายุเฉลี่ยที่ผู้หญิงไทยเข้าสู่วัยทองประมาณ 48-52 ปี สาเหตุในทางแพทย์แผนจีนนั้นมองว่า เมื่อสตรีเข้าสู่วัยหมดประจําเดือนนั้น ร่างกายจะมีการพร่องของสารจําเป็นของไต จิงไตและเลือดไม่เพียงพอ เส้นลมปราณชงและเริ่นเสื่อมถอย ส่งผลให้อวัยวะภายในขาดการบํารุงหล่อเลี้ยง ส่งผลกระทบต่อหน้าที่ทางสรีรวิทยาของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ตับ ม้าม เป็นต้น จึงทําให้แสดงอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้องออกมา รีวิวเคสการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน คนไข้เพศหญิง อายุ 64 ปี มาด้วยอาการแสบร้อนบริเวณช่องคลอดขณะปัสสาวะ มีเหงื่อออกบ้างเป็นบางครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี ลิ้นมีสีคล้ำฝ้าสีเหลืองหนา ชีพจรตึง รักษาด้วยการฝังเข็ม โดยเน้นการบำรุงไต ตับ และเลือดลม กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลม ผลการรักษา : อาการแสบร้อนของคนไข้ดีขึ้นตามลำดับ https://www.sririkulclinic.com/wp-content/uploads/2024/04/6376d45cea5345948205bc73ba50a874.mov
ดูแลสุขภาพของคุณในช่วงตรุษจีน…ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ถึงเวลาอำลาปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ โดยทางชาวจีนจะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเทศกาลฤดูใบไม้ผลิเป็นเทศกาลดั้งเดิมที่โดดเด่นที่สุดของชาวจีน เป็นวันรวมญาติ พบปะสังสรรค์ เพื่อให้รางวัลแก่สมาชิกในครอบครัวและตัวคุณเองที่ทำงานหนักมาตลอดทั้งปี แต่เรายังคงต้องใส่ใจสุขภาพร่างกายอยู่เสมอ โดยทางศรีริกุลคลินิกจะมาแนะนำการดูแลสุขภาพในช่วงตรุษจีนค่ะ ! หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มากเกินไป ทางศาสตร์แพทย์จีนเชื่อว่า “ถ้ากินมาก 2 เท่าจะปวดท้อง” การกินมากเกินไปจะเพิ่มภาระการทำงานให้กระเพาะอาหารและจะทำลายการทำงานของลำไส้ ทำให้อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ไม่อยากกินอาหาร เกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และอาการอื่นๆได้ ดังนั้นการกินอาหารที่สมดุล เช่น เน้นการกินอาหารเบาๆ และกินผักและผลไม้ให้มากขึ้น เป็นเรื่องที่สำคัญในวันที่ต้องเฉลิมฉลอง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป สุราเป็นยาแผนโบราณของจีน สุรามีรสขม หวาน ฉุน ร้อน และมีพิษ ดังนั้นการดื่มในปริมาณที่พอเหมาะจึงมีประโยชน์ การดื่มมากเกินไปอาจทำลายจิตใจและอายุขัย โดยเฉพาะตับ หลีกเลี่ยงการนอนดึกและไม่ควรนอนเกิน 8 ชม. การแพทย์แผนจีนเชื่อว่าตับเก็บเลือด และกลางคืนเป็นช่วงพลังงานของหยิน เมื่อคนเราพักผ่อน เลือดจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ โดยการที่ร่างกายไม่ได้พักผ่อนในช่วงนั้น อาจทำให้เกิดอาการปวดเอวและหัวเข่า วิงเวียนศีรษะและหูอื้อ นอนไม่หลับ เพ้อฝัน หงุดหงิดง่าย […]
รู้หรือไม่? ทานแต่ละรสชาติมากเกินไป ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในแบบแพทย์จีน
ในทางทฤษฎีปัญจธาตุของแพทย์แผนจีน จะแบ่งรสชาติของอาหารออกเป็น 5 ประเภท คือ เปรี้ยว ขม หวาน เผ็ด เค็ม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอวัยวะในร่างกาย คือ รสเปรี้ยวสัมพันธ์กับตับและถุงน้ำดี รสขมสัมพันธ์กับหัวใจและลำไส้เล็ก รสหวานสัมพันธ์กับม้ามและกระเพาะอาหาร รสเผ็ดร้อนสัมพันธ์กับปอดและลำไส้ใหญ่ รสเค็มสัมพันธ์กับไตและกระเพาะปัสสาวะ โดยตามทฤษฎีของแพทย์แผนโบราณจีนถือว่า อาหารรสเปรี้ยวช่วยกระตุ้นน้ำ ดับกระหาย ระงับเหงื่อ อาหารรสหวานมีสรรพคุณสำคัญด้านการบำรุง อาหารรสขมช่วยระบายท้อง แก้ร้อนใน อาหารรสเผ็ดช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและชี่ อาหารรสเค็มเล็กน้อยจะช่วยบำรุงไต อาหารที่มีลักษณะเย็นเหมาะกับผู้ป่วยธาตุร้อน ส่วนอาหารที่มีลักษณะอุ่นร้อนเหมาะกับผู้ป่วยธาตุเย็น เป็นต้น ดังนั้นการรับประทานอาหารให้สมดุล และถูกช่วงเวลา จะส่งผลดีต่อร่างกายอย่างมาก แต่ถ้าทานมากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นนั้น ทางคลินิกจึงมีความรู้ดีๆมาฝากค่ะ ว่าถ้าเราทานอาหารแต่ละรสที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ?
“โรคกล้ามเนื้ออักเสบ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) เป็นภาวะหรือกลุ่มโรคของกล้ามเนื้อลายที่เกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อลายนั้นๆเกิดการอักเสบขึ้น (Inflammatory myopathy หรือ Inflammatory muscle disease) ทั่วไปมักเป็นการอักเสบเรื้อรัง แต่ก็พบเป็นการอักเสบเฉียบพลันได้ ทั้งนี้มีสาเหตุหลากหลายที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ โดยอาการสำคัญในระยะแรกคือกล้ามเนื้อที่อักเสบจะบวม ปวด อ่อนแรง ซึ่งถ้ามีอาการอยู่นานกล้ามเนื้อมัดนั้นจะลีบลงจนทำงานไม่ได้ กล้ามเนื้ออักเสบโดยทั่วไปมักเกิดพร้อมกันทุกมัดในร่างกาย แต่ในแต่ละมัดอาจมีอาการมากน้อยต่างกัน อย่างไรก็ตามบางครั้งอาจมีกล้ามเนื้ออักเสบเพียงมัดเดียวได้ซึ่งขึ้นกับสาเหตุ เช่น เกิดจากกล้ามเนื้อมัดนั้นติดเชื้อแบคทีเรียและเกิดเป็นหนองขึ้นในที่สุด โดยแบ่งเป็นแต่ละชนิด ดังนี้ โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ (Dermatomyositis) โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย (Inclusion-body Myositis) โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก (Juvenile Myositis) โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน (Polymyositis) โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษ (Toxic Myositis) ในทางการแพทย์แผนจีนเชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออักเสบนั้น จะเกี่ยวข้องกับอวัยวะไตมากที่สุด เพราะตามศาสตร์แพทย์จีนกล่าวว่า ไตเป็นอวัยวะก่อนกำเนิด จะผลิตสารน้ำจิง ไขกระดูกและกระดูก ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่อวัยวะก่อนกำเนิดมีปัญหา ทำให้สารน้ำจิงและเลือดไม่เพียงพอ ในการไปเลี้ยงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูก จึงก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบได้ง่าย โดยการรักษาทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนจะเน้นจะเน้นลดอาการปวด และกระตุ้นกล้ามเนื้อในส่วนที่อ่อนแรงให้กลับมาเป็นปกติ เป็นหลัก […]
การวินิจฉัย “การรักษาสิว” ในแบบแพทย์แผนจีน
สิว คือ การอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งตามปกติแล้ว ไขมันที่สร้างจากต่อมไขมันจะออกมาตามรูขุมขน หากมีการอุดตันของทางเดินก็จะทําให้เกิดสิวอุดตันขึ้น ซึ่งจะพบเป็นลักษณะตุ่มเม็ดเล็กๆ เป็นไตสีขาวๆ อยู่ข้างใน หากมีตัวกระตุ้นเพิ่มเติม เช่น แบคทีเรีย ก็อาจจะทําให้เกิดการอักเสบได้ และหากสิวอักเสบมากขึ้นแล้ว ก็จะกลายเป็นตุ่มหนอง เป็นสิวหัวช้าง และเป็นซีสต์ได้ แบ่งคร่าวๆ ได้ 2 ชนิดตามลักษณะที่พบ ได้แก่ สิวอักเสบ และสิวที่ไม่อักเสบ สิวที่มีการอักเสบ เช่น สิวที่เป็นตุ่มแดง (สิวอักเสบ) สิวที่มีหนอง (สิวตุ่มหนอง) สิวอักเสบขนาดใหญ่ (สิวหัวช้าง) และสิวที่มีการทําลายของผิวข้างในจนเป็นโพรงคล้ายซีสต์ และสิวที่ไม่มีการอักเสบ เช่น สิวอุดตันหัวขาว (สิวอุดตันหัวปิด) สิวอุดตันหัวดํา (สิวอุดตันหัวเปิด) ในทางการแพทย์แผนจีน สิวจะบ่งบอกถึงอาการต่างๆของโรคที่สะท้อนออกมาทางผิวหนัง เป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกถึงภาวะไม่สมดุลหรือมีการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย สิวที่เกิดขึ้นจึงบ่งบอกถึงอวัยวะภายในมีการเปลี่ยนไป โดยสาเหตุแบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ ปอดมีความร้อน มักพบในวัยเจริญพันธุ์เป็นช่วงที่ร่างกายมีพลังหยางมาก […]
“โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (benign paroxysmal positional vertigo: BPPV) หรืออาจเรียกว่าโรคเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า มีสาเหตุมาจากการเสื่อมของอวัยวะในหูชั้นใน จึงมักพบในผู้สูงอายุ โรคนี้เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบได้บ่อยที่สุด ในทางแพทย์แผนจีนวางขอบเขตของโรคนี้ จัดอยู่ใน “กลุ่มอาการเวียนหัว (眩晕)” โดยจะแยกกลุ่มอาการและการรักษาของโรคนี้ตามสาเหตุต่างๆ ของการกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ โดยสามารถแบ่งออกเป็นดังนี้ กลุ่มอาการมีความชื้นและเสมหะอุดกั้นในจงเจียว กลุ่มอาการหยางตับแกร่งและกลุ่มอาการจากลมภายนอกเข้ามารบกวน โดยการรักษาจะเน้นการปรับสมดุลอวัยวะภายใน และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดเป็นหลัก
3 อาการสำคัญตามหลักแพทย์จีนเพื่อวินิจฉัย “โรคลำไส้อักเสบ”
โรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคลำไส้ส่วนต้น (duodenum) เกิดการอักเสบ ในทางแพทย์จีนจัดอยู่ใน “กลุ่มอาการปวดท้อง” โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเสียหายต่อม้ามและกระเพาะอาหาร ภาวะอารมณ์ที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดการติดขัดของชี่ตับ อาการหลักของโรคคือปวดบริเวณท้องใต้ลิ้นปี่และคลื่นไส้ หรือมีอาการอาเจียนมักมาพร้อมกับอาการอาหารไม่ย่อยและอาการอื่นๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ กรดไหลย้อน เป็นต้น มีอาการปวดท้องน้อยเป็นระยะและเป็นจังหวะ ปวดท้องขณะท้องว่าง ซึ่งตำแหน่งของโรคจะอยู่บริเวณใต้ลิ้นปี่ซึ่งจะสัมพันธ์กับอวัยวะตับและม้ามด้วย ในระยะแรก ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาการเแกร่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับม้ามและกระเพาะอาหารด้วย 3 อาการสำคัญตามหลักแพทย์จีนเพื่อวินิจฉัย “โรคลำไส้อักเสบ” การป้องกันด้วยตนเองในเบื้องต้น งดสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มหรืองดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือแอสไพริน เว้นแต่แพทย์สั่ง ไม่รับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
“โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (Hemifacial spasm) คือการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งจะเป็นรูปแบบของการ “กระตุก” ของกล้ามเนื้อใบหน้าโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเกิดที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง อาการกระตุกจะเกิดขึ้นในกลุ่มของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อาการกระตุกที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นแบบสุ่ม ไม่เป็นจังหวะ ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นช่วงใด และไม่สามารถควบคุมได้ ในแพทย์ตะวันตกเชื่อว่าน่าจะเกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณใบหน้าถูกกดทับจึงทำให้กล้ามเนื้อใบหน้ามีอาการเกร็งกระตุก แต่ในทางแพทย์จีน วินิจฉัยว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของ 2 ส่วน คือ การตีบตันของเส้นลมปราณบริเวณใบหน้าและความไม่สมดุลของเส้นชีพจรและอวัยวะภายใน การตีบตันของเส้นลมปราณบริเวณใบหน้า ทำให้เลือดลมที่ไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงใบหน้าไม่เพียงพอและก่อให้เกิดอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้าขึ้น ความไม่สมดุลของเส้นชีพจรและอวัยวะภายใน โดยพฤติกรรม ลักษณะการใช้ชีวิตและอารมณ์ที่ไม่สมดุล (มากไปหรือน้อยเกินไป) ของเรานั้นสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะและระบบภายในร่างกายของเราให้ทำงานผิดเพี้ยนไปได้ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การทำงานมากเกินไปหรือการพักผ่อนน้อย ล้วนสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายให้เสียสมดุลจนทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก(面肌痉挛) ในการรักษาทางศาสตร์แพทย์แผนจีน จะใช้การฝังเข็ม หรือฝังเข็มร่วมกับการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า สำหรับใช้ในการรักษาโรค และยาสมุนไพรจีน สำหรับดูแลรักษาระบบภายในร่างกายร่วมด้วย โดยจะเน้นการขับลมที่อุดกลั้นบริเวณใบหน้าและปรับการไหลเวียนของเลือดบริเวณใบหน้า เป็นหลัก
“โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” กับการรักษาในทางแพทย์แผนจีน
โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) เป็นโรคที่มีเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก (คล้ายกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญในอุ้งเชิงกราน) เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญและสลายตามรอบระดู ขณะมีระดูเซลล์เหล่านี้จะสลายเกิดการอักเสบในชั้นกล้ามเนื้อ กระตุ้นให้เกิดการบีบรัดตัวของมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดระดู หลังหมดระดูเกิดพังผืดในบริเวณชั้นกล้ามเนื้อนี้ ภาวะนี้เกิดซ้ำ ๆ ในแต่ละรอบระดู ทำให้มดลูกใหญ่ขึ้นเป็นรูปทรงกลมและอาการจะรุนแรงขึ้นได้ นอกจากคุณผู้หญิงจะมีอาการปวดระดูแล้ว ระดูมามากก็เป็นอาการที่พบบ่อยร่วมด้วย ในรายที่รุนแรงจะมีอาการปวดเรื้อรัง ปวดหน่วง หรืออาการปวดคล้ายปวดระดูเกือบทุกวัน ในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนเชื่อว่า ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เกี่ยวข้องกับการอุดตันของเลือดภายในร่างกายเป็นหลัก และการอุดตันของเลือดภายในยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอย่างอื่น เช่น ชี่พร่อง ความเย็นและชี่ติดขัด และเสมหะชื้น ซึ่งจะสมารถจำแนกสาเหตุการเกิดโรคออกได้ เป็น ภาวะเลือดและชี่ติดขัด (气滞血瘀) , ภาวะความเย็นทำให้เลือดคั่ง (寒凝血瘀), ภาวะความร้อนเผาไหม้ทำให้เกิดเลือดคั่ง (热灼血瘀),ภาวะชี่พร่องทำให้เลือดคั่ง (气虚血瘀) เป็นต้น โดยการรักษาทางศาสตร์แพทย์แผนจีน จะเน้นการสลายเลือดคั่ง กระตุ้นการไหลเวียนเลือด เป็นหลัก ตัวอย่างเคสที่เคยรักษา “โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” ด้วยการทานยาสมุนไพรจีน
“โรคปวดตามข้อ หรือโรคเกาต์” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคเกาต์ (Gouty Arthritis) เป็นโรคที่เกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้ผลึกยูเรตตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ, ไต และบริเวณผิวหนัง ซึ่งเมื่อผลึกยูเรตมีการตกตะกอนตามบริเวณข้อ ก็สามารถจะทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบได้อย่างฉับพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม, แดงร้อนที่บริเวณข้อ ปัจจัยกระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นหรือลดลงฉับพลัน ซึ่งทำให้เกิดข้ออักเสบ หลังจากการดื่มไวน์ โดยเฉพาะไวน์แดง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลังออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดหนัก รับประทานยาต้านมะเร็ง ในทางแพทย์แผนจีนเชื่อว่าการเกิดโรคเก๊าท์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประการ คือ สาเหตุภายนอกและสาเหตุภายใน ได้แก่ พลังงานชี่ไม่เพียงพอ สูญเสียพลังชี่ ปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบ ลม ความเย็น ความชื้น และความร้อน เข้ามากระทบเส้นลมปราณบริเวณแขนขา กล้ามเนื้อ ทำให้เส้นเอ็น กระดูก และข้อต่อ เส้นลมปราณอุดกลั้น ชี่และเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้เกิดอาการปวด โดยแบ่งระยะข้ออักเสบเรื้อรัง […]
“อาหารลดความดัน” …ตามแบบฉบับแพทย์จีน
โรคความดันโลหิตสูง(高血压)🌟 คือ แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังเส้นเลือดแดงสูงผิดปกติ อันเกิดมาจากหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ ปวดหัว วิงเวียนหัว ตาลาย มีเสียงในหู ดังนั้นแพทย์ส่วนใหญ่ จึงจัดโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในกลุ่มอาการ “เวียนศีรษะ” หรือ “ปวดศีรษะ” ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน ” อาหารที่ช่วยลดความดัน…แบบฉบับแพทย์จีน “ ข้าวโอ๊ต ที่จริงแล้ว หลายคนรู้ดีว่าข้าวโอ๊ตมีคุณค่าทางการแพทย์ขนาดนี้ จริงๆ แล้ว ข้าวโอ๊ตยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย เพราะมันมี วิตามิน B ที่อุดมไปด้วย ไนอาซิน กรดโฟลิก และกรดแพนโทธีนิก โดยเฉพาะวิตามินอี สูงถึง 15 มก. ต่อแป้งข้าวโอ๊ต 100 กรัม สาหร่าย สาหร่ายสามารถลดความดันโลหิตสูงได้เมื่อรับประทาน เนื่องจากสาหร่ายอุดมไปด้วยโพลิแซ็กคาไรด์ โปรตีน […]
“โรคปลอกประสาทอักเสบ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส (MS) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาททั้งส่วนกลางและส่วนปลาย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรค แต่เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันระบบประสาท ทำให้เกิดการทำลายปลอกหุ้มประสาทในระบบประสาทส่วนกลางหรือปลอกหุ้มเส้นประสาทในส่วนปลาย จะพบมากในผู้ป่วยอายุน้อย วัยหนุ่มสาว หรือวัยทำงาน คือ ช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี และพบว่า ผู้หญิงเป็นโรค MS มากกว่าผู้ชาย เช็คอาการ! ว่าคุณเป็น “โรคปลอกประสาทอักเสบ” หรือไม่? ในทางแพทย์จีน สาเหตุพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เกิดจากการไหลเวียนของลมปราณและเลือดไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถไปบำรุงกล้ามเนื้อและเส้นเลือดของแขนขาได้ ส่วนอาการทางคลินิกที่พบบ่อย ได้แก่ ลมปราณและเลือดพร่องที่เกิดจากการที่ร่างกายอ่อนแกหรือทำงานหนักมากจนเกินไป ลมเย็นและลมชื้นเข้ามากระทบ และลมปราณและเลือดติดขัด เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนของลมปราณและเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เกิดอาการชาและปวดได้ วิธีการรักษาตามแบบฉบับแพทย์จีน TO […]
“โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะในคุณผู้หญิง โดยสาเหตุส่วนใหญ่พบว่า มีการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อย คือ เชื้อชนิดอีโคไล (E. Coli) ที่พบในอุจจาระของคนเรานั่นเอง ทำไมถึงติดเชื้อนี้ได้ ส่วนใหญ่จะไม่ทราบสาเหตุ แต่พบว่า ผู้ที่กลั้นปัสสาวะนานผิดปกติ เช่น มากกว่า 4 ชั่วโมง มีอัตราการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบมากกว่าคนทั่วไป เช็คอาการ! ว่าคุณเป็น “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ” หรือไม่? ในทางแพทย์จีน ได้วางขอบเขตของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอยู่ใน “โรคปัสสาวะขัด (淋证)” โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นเกิดจาก กระเพาะปัสสาวะมีความชื้นร้อน ม้ามไตพร่อง ไตอินได้รับความเสียหาย จึงทำให้ชี่ของกระเพาะปัสสาวะไม่เดินเกิดการอุดกลั้น โดยแพทย์จีนได้วินิจฉัยโรคนี้อยู่ในกลุ่มอาการของอินพร่องและมีความชื้นร้อนร่วมด้วย ซึ่งมีอาการหลักๆ ได้แก่ ฉี่บ่อยและขัด รู้สึกปวดเหมือนเข็มแทง ปวดเมื่อยเอว มีไข้ต่ำๆในตอนบ่าย ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน ปากแห้งปากขม เป็นต้น […]
“โรคความดันโลหิตสูง” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อย บางรายอาจมีภาวะดังกล่าวนานหลายปีโดยไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามแม้จะไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งสามารถตรวจพบความเสียหายเหล่านี้ได้ ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรังอื่น ๆ เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงมักจะพัฒนาต่อเนื่องในช่วงหลายปีและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย เช็คอาการ! ว่าคุณเป็น “โรคความดันโลหิตสูง” หรือไม่? ในทางการแพทย์แผนจีน ความดันโลหิตสูง เป็นสัญญาณแสดงความผิดปกติของร่างกาย โดยการแพทย์แผนจีนมองว่า วิถีชีวิตแบบไม่ค่อยเคลื่อนไหว, ความเครียดอย่างต่อเนื่อง, อาหารที่ไม่เหมาะกับสุขภาพ, สภาพร่างกายที่สึกหรอ และสภาพโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายที่บกพร่อง ล้วนส่งผลต่อความดันโลหิตทั้งสิ้น ความเสียหายภายในร่างกาย มักเกิดขึ้นต่อระบบหัวใจ, ตับ และไต อาจเกิดการทำงานผิดปกติของเส้นลมปราณ “ชงม่าย” และ”ต้ายม่าย” ซึ่งสาเหตุมาจากปัจจัยภายใน ได้แก่ สารจำเป็นและชี่เสื่อมและถดถอยลง (精气衰退) มีพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิดในลักษณะหยางแกร่งอินพร่อง และสาเหตุจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ อารมณ์ อาหาร ความตรากตรำอ่อนเพลีย และการมีเพศสัมพันธ์มากเกิน วิธีการรักษาตามแบบฉบับแพทย์จีน […]
“โรคเครียดลงกระเพาะ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ในปัจจุบันอาการเครียดเหมือนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับคนวัยทำงาน แต่เวลาที่เรามีอาการเครียดมาก ๆ ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดความแปรปรวน ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวกและกระเพาะอาหารจะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลทำให้ระบบการทำงานย่อยอาหารแย่ลงได้ และอาจก่อให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมา เช็คอาการ! ว่าคุณเป็น “โรคเครียดลงกระเพาะ” หรือไม่? ในมุมมองแพทย์จีน กล่าวว่า ตับเป็นอวัยวะที่ควบคุมความรู้สึก เมื่อเกิดภาวะเครียด ทำให้ลมปราณของตับไหลได้ไม่ดี เกิดการติดขัด ซึ่งหากพลังลมปราณของตับถูกรบกวน ทำให้เกิดการย้อนกลับของไปที่กระเพาะอาหาร และทำให้ลมปราณของกระเพาะอาหารสูญเสียการเคลื่อนที่ลง และมีทิศทางขึ้นอย่างเดียว ทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ปวดร้าวไปที่หน้าอกและสีข้าง คลื่นไส้ แน่นหน้าอกและเรอเปรี้ยว ยิ่งถ้ามีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ทำให้อาการปวดต่างๆยิ่งทวีคูณมากขึ้น วิธีการรักษาตามแบบฉบับแพทย์จีน TO DO LIST! สิ่งที่ควรทำ ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ทานอาหารรสจัด เลี่ยงของมัน ของทอด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดแอลกอฮอล์ ไม่เครียด […]
ดูแลตัวเองอย่างไร? “ก่อนตั้งครรภ์” ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
รู้หรือไม่? เหล่าแม่ๆทั้งหลายที่เตรียมตัวที่จะตั้งครรภ์นั้น ต้องดูแลสุขภาพตัวเองเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อไหร่ที่สมรรถภาพทางกายของคุณแม่ค่อนข้างย่ำแย่ จะส่งผลกระทบต่อตัวแม่เองและแม้กระทั่งทารกในครรภ์หลังการตั้งครรภ์ด้วย ซึ่งทางการแพทย์แผนจีนได้มีวิธีการดูแลตัวเอง ซึ่งถ้าทำตามนี้นั้น จะมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพที่ดีทั้งเหล่าแม่ๆเองและทารกในครรภ์ก็จะแข็งแรงอีกด้วย แล้ววิธีการดูแลตนเองก่อนตั้งครรภ์ของการแพทย์แผนจีนมีอะไรบ้าง? ควบคุมประจำเดือนให้กลับมาเป็นปกติ การมีประจำเดือนผิดปกติมีผลกระทบอย่างมากต่อผู้หญิงเนื่องจากการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์นั้นมีความเกี่ยวข้องกัน ก่อนตั้งครรภ์ ขั้นตอนแรกของการดูแลด้วยการแพทย์แผนจีนคือการควบคุมการมีประจำเดือน เช่น การสังเกตจำนวน สี และรอบการมีประจำเดือน ทำให้เราสามารถระบุปัญหาเกี่ยวกับร่างกายได้ และสามารถไปดูแลรักษาร่างกายให้รอบเดือนนั้นมาเป็นปกติและสม่ำเสมอ คอยวัดอุณหภูมิตนเองอยู่เสมอ ทุกคนคงเคยได้ยินมาบ้างว่าการวัดอุณหภูมิร่างกายนั้น สามารถบอกได้ว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงที่ไข่ตกอยู่หรือไม่ โดยทั่วไป หากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นไม่กี่วันนั้น ก็แสดงว่าคุณอยู่ในช่วงที่ไข่กำลังตกเป็นเรื่องปกติ การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตกไข่ จะทำให้การตั้งครรภ์ง่ายขึ้น แต่หากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นสัก 2-3 วันแล้วลดลงอีก ปัญหาการตกไข่อาจเกิดขึ้นและต้องได้รับการดูแลหรือรักษาเพิ่มเติม ดูแลท้องน้อยให้อบอุ่น มดลูกนั้นจะอยู่บริเวณท้องน้อยของผู้หญิง ซึ่งหากมดลูกเย็น โดยปกติในสภาพแวดล้อมนี้ จะไม่เหมาะกับพัฒนาการของทารกในครรภ์ จึงจำเป็นต้องทำให้มดลูกของคุณอบอุ่นอยู่เสมอ […]
“อาการคัน” ตามศาสตร์แพทย์จีน แบ่งเป็นแบบไหนได้บ้างนะ?
อาการคัน (Pruritus) เป็นกลุ่มอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อย และมักนำไปสู่การแกะเกา โดยผู้ป่วยที่มีอาการคันอาจมีผื่นผิวหนังร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ อาการคันอาจเป็นเพียงเฉพาะที่หรือเป็นทั่วทั้งตัว และอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ เช่น ทำให้เสียสมาธิ รบกวนการทำงาน การนอน หรือส่งผลเสียทางด้านจิตใจ ในผู้ป่วยที่มีการแกะเกามาก อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนบริเวณผิวหนังตามมาได้ด้วย ในทางแพทย์แผนจีน อาการคัน คือ เฟิงเซาหย่าง(风瘙痒) หมายถึง โรคผิวหนังที่ไม่ได้มีรอยโรคปฐมภูมิแต่มีอาการคันเป็นหลัก หลังการเกาจะเกิดรอยเกา รอยแผลตกสะเก็ด และรอยดำคล้ำ นานวันผิวหนังจะเริ่มหนาตัว ผิวจะมีลักษณะสากหยาบ เฟิงเซาหย่างโดยทั่วไปแล้วนั้นจะมีอาการผิวแห้ง และมักพบในผู้สูงวัย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในผู้สูงวัยผิวหนังจะเสื่อมสภาพตามอายุและไขมันใต้ผิวหนังลดจำนวนลงทำให้ขาดไขมันมาปกป้องผิว โดยอาการนี้ได้มีการกล่าวถึงในคัมภีร์ “ไว่เคอเจิ้งจื้อฉวนซู”《素问∙至真要大论》ว่า “อาการคันจาก ลม ทำให้คันทั่วตัว และไม่มีรอยผื่น คันไม่หยุด” ซึ่งสามารถแบ่งประเภท ได้แก่ ลม(风痒),ร้อน(热痒),ความชื้น(湿痒),แมลง(虫痒),เลือดพร่อง(血虚痒)และเลือดคั่ง(血瘀痒)
“โรคแพนิค” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรคที่เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก หายใจไม่ทัน ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม และเป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ นั่นทำให้บางคนที่มีอาการมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และผู้ป่วยโรคแพนิคมักจะรู้ตัวว่าเป็นโรคแพนิกก็ต่อเมื่อมีอาการดังกล่าวไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค แล้วพบว่าหัวใจแข็งแรงเป็นปกติ แพทย์จะสงสัย และอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก โรคแพนิค กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ทางการแพทย์แผนจีนจะไม่มีชื่อโรคแพนิคโดยตรง แต่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคทางระบบประสาทและอารมณ์ โดยหลักการรักษานั้นจะเน้นการหาสาเหตุของโรคว่าเกิดจากอวัยวะไหนที่ทำงานเสียสมดุลไป เพื่อฟื้นฟูอวัยวะนั้น รักษาจากหัวใจ : 从心论治 “ ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีแนวคิดว่า หัวใจเป็นจ้าวแห่งอวัยวะภายใน เป็นที่อยู่ของจิตใจ พื้นฐานของโรควิตกกังวลอยู่ที่หัวใจ หัวใจควบคุมจิตใจ หน้าที่การทำงานของเสินหัวใจต้องอาศัยเลือดของหัวใจหล่อเลี้ยงและชี่ของหัวใจในการผลักดัน(สูบฉีด) หาก เลือดและชี่หัวใจไม่พอทำให้จิตใจไม่กระปรี้กระเปร่า เสินไม่อยู่ในหัวใจจนทำให้เกิดโรคแพนิคขึ้นมา รักษาจากไต (从肾论治) ตำแหน่งพยาธิสภาพของโรควิตกกังวลอยู่ที่สมอง แต่ไตและสมองมีการเชื่อมสัมพันธ์การอย่างใกล้ชิด […]
“โรคพาร์กินสัน” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยเฉพาะส่วนที่สร้างโดพามีน (dopamine) ทำให้โดพามีนมีปริมาณน้อยลง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว เป็นโรคที่พบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์ มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 65 ปี โดยมีอาการที่เด่นชัดคือ สั่น เกร็ง เคลื่อนไหวช้า ในทางแพทย์แผนจีนเรียกว่ากลุ่มอาการสั่น ซึ่งเป็นโรคที่มีลักษณะอาการทางคลินิกหลักคืออาการสั่นของศีรษะหรือแขนขา ในกรณีที่ไม่รุนแรงจะรู้สึกเพียงการสั่นของศีรษะหรือการสั่นสะเทือนที่มือและเท้า และในกรณีที่รุนแรงจะมีอาการศีรษะสั่นอย่างรุนแรงและแขนขาสั่นอย่างต่อเนื่อง แขนขาเกร็ง ไม่สามารถควบคุมดูแลตัวเองได้ โดยสาเหตุหลักมาจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น ร่างกายอ่อนแอ มีภาวะซึมเศร้า รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การทำงานและการพักผ่อนที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ซึ่งนำไปสู่ชี่และเลือดไม่เพียงพอ ลมในตับและเส้นเลือดต่างๆขาดการหล่อเลี้ยง เป็นเวลานาน ทำให้ไตจิงถูกทำลาย เส้นจิงม่ายไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงที่เพียงพอ โดยการรักษาจะเน้นการขับลม บำรุงตับ ไต ชี่และเลือด กระตุ้นระบบประสาทให้กลับมาทำงานปกติ ฟื้นฟูกล้ามเนื้อเป็นหลัก
“ปวดหลัง” แบบไหน? ควรไปหาหมอ!!!
ปวดหลัง (Back Pain) ด้วยสาเหตุมาจากบุคลิกภาพ น้ำหนักตัวที่เยอะ การยืนหรือนั่งนานๆ และยังบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่ร่างกายส่งสัญญาณเตือนออกมา โดยอาการปวดหลังนั้นจะแบ่งออกมา 3 ระยะ ปวดแบบเฉียบพลัน มีอาการต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์ ปวดแบบกึ่งเฉียบพลัน มีอาการปวดหลังต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์ ปวดแบบเรื้อรัง มีอาการปวดต่อเนื่องมากกว่า 12 สัปดาห์ ในทางแพทย์แผนจีน อาการปวดหลังนั้นสามารถมาจากสาเหตุภายนอก เช่น ลม ความเย็น ควานร้อน ความชื้น หรือมาจากสาเหตุภายใน เช่น ไต ตับ การทำงานของอวัยวะต่างๆพร่อง ในทางสตรีจะมีเรื่องของปราจำเดือนเกี่ยวข้องด้วย การรักษาจะเน้น เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ปรับการไหลเวียนของกล้ามเนื้อรอบๆ และปรับการทำงานของภายใน หรือสามารถปรับการทำงานของภายในด้วยยาสมุนไพรจีน
“โรคแพ้ภูมิตัวเอง” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE (Systemic Lupus Erythematosus) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยภูมิคุ้มกันของคน ๆ นั้นทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเองจนเกิดการอักเสบและสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะได้ทั่วร่างกาย พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ในทางแพทย์แผนจีน จัดโรคนี้อยู่ในกลุ่มอาการยินหยางเป็นพิษ (阴阳毒) หรือ กลุ่มอาการพร่องต่างๆ (虚劳) โดยสามารถวินิจฉัยจากการแยกกลุ่มอาการ เช่น สาเหตุ อาการทางคลินิก ภาวะลิ้น และภาวะชีพจร ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มอาการได้ดังนี้ – มีความร้อนและพิษในร่างกายสูงเกินไป จะมีอาการไข้สูงฉับพลัน ผื่นแดงบนใบหน้า ปวดข้อและกล้ามเนื้อ กระสับกระส่าย กระหายน้ำและชอบดื่มน้ำเย็น เป็นต้น – ยินพร่องภายในเกิดความร้อน จะมีอาการมีไข้ต่ำๆ ฝ่ามือและฝ่าเท้ารู้สึกร้อน ปวดเอวและเข่า หน้าแดง เลือดออกตามไรฟัน หน้าแดง เป็นต้น – ชี่และเลือดติดขัด จะมีอาการหน้าแดง มีก้อนใต้ผิวหนัง ปวดเหมือนเข็มแทงที่หน้าอกและสีข้าง ปวดอยู่กับที่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ […]
“ตาแห้ง” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ตาแห้ง (Dry eyes) เกิดจากการที่ตาเกิดการระคายเคือง ไม่สบายตาอันเนื่องมาจากน้ำตาที่มีอยู่ในดวงตามีปริมาณน้อยเกินไปที่จะทำการเคลือบดวงตา หรือคุณภาพไม่เพียงพอที่จะทำการหล่อลื่นดวงตาทำให้เกิดการเคืองตา แสบตา ตาแห้ง ไม่สบายตา แม้ว่าจะดูเหมือนไม่ใช่อาการรุนแรง แต่การปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาวโดยไม่ทำการรักษาจะทำให้อาการเคืองตารุนแรงยิ่ง ขึ้น จนอาจเกิดการอักเสบและการดึงรั้งของเปลือกตาทำให้ขนตาลงมาทิ่มตา ซึ่งหากเกิดการระคายเคืองจนกระจกตาเป็นแผลอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไขในที่สุด ในทางแพทย์แผนจีนมองว่าตับมีสัมพันธ์กับดวงตา กล่าวคือการทำงานของดวงตาเป็นตัวบ่งสะท้อนต่อการทำงานของตับ ดังนั้นในทางแพทย์จีนจึงมองว่าหากตับมีปัญหาย่อมทำให้ดวงตามีปัญหาเช่นกัน ในการรักษาจึงต้องทำการบำรุงอวัยวะตับไปพร้อมกันด้วย สาเหตุหลักในทางแพทย์จีน เกิดจาก สารน้ำในร่างกายพร่อง อินที่ตับ ไต พร่อง ชี่และอินพร่อง สามารถรักษาและบำรุงตา เพื่อรักษาอาการตาแห้ง ได้ด้วยศาสตร์แพทย์จีน
รู้หรือไม่? “เลือดไหลเวียนไม่ดี” ทำให้ปวดกล้ามเนื้อได้ด้วยหรือ?
ในทางแพทย์จีน เชื่อว่า อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและสิ่งเร้าจากภายนอกทำให้เกิดการอุดตันของเส้นลมปราณซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนของชี่และเลือด อีกทั้งของเหลวในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้สูญเสียการหล่อเลี้ยงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ส่งผลให้ เกิดอาการปวด จัดอยู่ในกลุ่มอาการปีเจิ้ง (痹症)ซึ่งมีสาเหตุจาก ลม ความเย็น ความชื้น เลือดคั่ง ชี่และเลือดพร่อง มากระทำต่อเส้นลมปราณ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ช้าลง เกิดภาวะเลือดคั่งและชี่ติดขัด รบกวนการไหลเวียนของเลือดและชี่ (不通则痛) หรือไม่สามารถนำเลือดและชี่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณต่างๆของร่างกายได้ (不荣则痛) จนเกิดอาการปวด การขาดชี่และเลือดในร่างกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทั้งกล้ามเนื้อและกระดูกทั่วร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้ อีกทั้งการขาดชี่และเลือดยังส่งผลให้เกิดอาการต่างๆได้ เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ นอนไม่หลับ เพ้อฝัน และอ่อนเพลียร่วมด้วยได้
“ภาวะมดลูกหย่อน” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภาวะมดลูกหย่อน (Prolapsed Uterus) หรือมดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse) คือ ภาวะที่มดลูกหย่อนหรือเลื่อนหลุดลงต่ำมาอยู่ที่ช่องคลอด โดยปกติ มดลูกซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงมีตำแหน่งอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์กลับด้าน มีกล้ามเนื้อที่ห้อยอยู่ระหว่างกระดูกก้นกบกับกระดูกหัวหน่าวทำหน้าที่ยึดมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ มีเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยึดมดลูกให้อยู่ในอุ้งเชิงกราน หากเนื้อเยื่อดังกล่าวไม่แข็งแรงหรือถูกทำลาย จะส่งผลให้มดลูกหย่อนลงไปที่ช่องคลอด โดยภาวะมดลูกหย่อนแบ่งออกเป็น 4 ระดับตามความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนี้ – ระดับที่ 1 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาที่ช่องคลอดครึ่งหนึ่ง – ระดับที่ 2 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาใกล้ปากช่องคลอด – ระดับที่ 3 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด – ระดับที่ 4 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด เรียกว่ามดลูกย้อย (Procidentia) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทั้งหมดเสื่อมสภาพ ในมุมมองของการแพทย์แผนจีนมดลูกจะอยู่ในต่าแหน่งที่ปกติได้ต้องอาศัยอวัยวะ 2 อวัยวะ คือ ม้ามและไต ม้ามถือว่าเป็นรากฐานของชีวิตหลังคลอด […]
“FAST” สัญญาณเตือน…หลอดเลือดสมอง กับแพทย์แผนจีน
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือทางแพทย์จีนเรียกว่า จ้งเฟิง (中风) มีปัจจัยก่อโรคมากมายทำให้มีการดำเนินโรคที่ซับซ้อน ปัจจัยการเกิดโรคนี้ได้แก่ ลม (风) ไฟ(火) เสมหะ (痰) เลือดคั่ง (瘀) โดยตำแหน่งของโรคอยู่ที่สมอง กลไกของอาการในทางแพทย์จีน 1. อินของตับและไตพร่อง ทำให้น้ำไม่หล่อเลี้ยงตับ เกิดลมตับกำเริบ 2. อารมณ์ทั้งห้าตามหลักการแพทย์แผนจีน รุนแรงเกินระดับปกติ ทำให้หยางของตับลอยขึ้นสูง ไปเหนี่ยวนำให้เกิดไฟในหัวใจ ลมกับไฟร่วมโบกโหมสะพัด ทำให้เลือดและชี่ไหลพุ่งขึ้นสู่เบื้องสูง (ศีรษะ) 3. รับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะชอบทานอาหารมันหรือรสจัด ทำให้เกิดเสมหะสกปรกขึ้นภายในร่างกาย 4. การเคลื่อนที่ของชี่เสียสมดุล ชี่ติดขัดทำให้เลือดไหลเวียนไม่คล่อง 5. ร่างกายอ่อนแอสารจิงแต่กำเนิดไม่เพียงพอ ชี่พร่องไม่มีแรงผลักดันเลือดให้ไหลเวียน นานวันเข้าเกิดเป็นเลือดคั่ง การรักษาด้วยการฝังเข็ม จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดไหลเวียนเข้าสู่หลอดเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้มากขึ้น ทั้งสมอง หัวใจ แขน และขา และการฝังเข็มยังช่วยฟื้นฟูการทำงานของอวัยวะต่างๆ กระตุ้นกล้ามเนื้อ และคลายกล้ามเนื้อได้
ประโยชน์ดีๆจาก “เจียวกู่หลาน” ตามแบบแพทย์แผนจีน
เจียวกู่หลาน ชื่อสามัญ Jiaogulan, Gynostemma, Miracle grass (หญ้ามหัศจรรย์), Southern ginseng (โสมภาคใต้), 5-Leaf ginseng (โสมห้าใบ), Penta tea เจียวกู่หลาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynostemma pentaphyllum (Thunb.) Makino จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย สมุนไพรเจียวกู่หลาน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปัญจขันธ์ เบญจขันธ์ (ไทย), เครือต๋อมต๋อ (ไทใหญ่), ชีเย่ต่าน เสี่ยวขู่เอี้ยว เจียวกู่หลาน (จีนกลาง), คำว่า “เจียวกู่หลาน” มาจากภาษาจีนที่หมายความถึงพืชเถาที่พันรอบไม้ใหญ่ แต่ด้วยความที่สมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพและรักษาอาการป่วยต่าง ๆ ได้หลายอย่าง ชาวจีนจึงเรียกว่าเจียวกู่หลานว่า “ซียันเช่า” ซึ่งมีความหมายว่าสมุนไพรแห่งชีวิตอมตะ ส่วนชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า “อะมาซาซูรู” ที่มีความหมายว่า ชาหวานจากเถา ในทางแพทย์จีน เจียวกู่หลาน (绞股蓝) เป็นยาที่มีฤทธิ์ขมและหวานอ่อนๆ ซึ่งจะเข้าสู่เส้นลมปราณปอด ม้ามและไต […]
ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน…ตามแบบแพทย์จีน
ตามวิถีของคนจีนและการแพทย์แผนจีน การดูแลสุขภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งในคนวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ จึงทำให้มีงานวิจัยและการทดลองต่างๆโดยยึดตามศาสตร์แพทย์แผนจีนออกมาให้ความรู้อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในบทความนี้จะแนะนำการดูแลสุขภาพตามแบบแพทย์จีน โดยอิงตามข้อมูลและการทดลองตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ของนานาชาติกันค่ะ !!! ห้าพันก้าวหลังทานอาหารป้องกันและรักษาเบาหวานได้ ในระหว่างการออกกำลังกาย ความต้องการพลังงานของกล้ามเนื้อจะเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งรวมถึงการเผาผลาญของน้ำตาลก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการเดินหลังมื้ออาหารไม่เพียงแค่ส่งเสริมกลูโคสในเลือดให้เข้าสู่เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันในการใช้น้ำตาลอีกด้วย และยังช่วยลดหรือขจัดภาวะการดื้อต่ออินซูลิน เพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อในการใช้อินซูลินในเลือดได้อีกด้วย ออกกำลังกาย เพื่อป้องกันเลือดออกในทางเดินอาหารในวัยผู้สูงอายุ จากการศึกษาคน 8,250 คน ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารได้อีกด้วย เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ออกกำลังกายแล้ว ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถลดอัตราการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารได้มากกว่า 50% ซึ่งการเดินขึ้นบันไดหรือการเดินเป็นทางเลือกที่ดีในการออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่มีแมงกานีสเป็นประจำ สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ ศาสตราจารย์ซอลต์แมน นักชีววิทยาชาวอเมริกัน พบว่าการขาดแมงกานีสในร่างกายมนุษย์สามารถทำให้เกิดความผิดปกติของขบวนการสร้างกระดูก นำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนและอาจเกิดกระดูกหักตามมาได้ ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยแมงกานีสนั้น ได้แก่ ถั่วเหลือง มะเขือ เผือก หัวไชเท้า ผักโขม และผักใบเขียว […]
5 วิธี ดูแล “ลูกน้อย” ในแบบแพทย์แผนจีน
วันเด็กใกล้เข้ามาแล้ว 👶🏻 วันนี้ทางคลินิกมี tips ดีๆมาบอก เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยของคุณ ! 🌟 5 วิธีดูแลสุขภาพลูกน้อย ในแบบแพทย์จีน 1. การนวดให้ลูกน้อยวันละครั้ง สามารถช่วยป้องกันไข้หวัดได้ โดยปกตินิ้วชี้จะเป็นพื้นฐานโรคไข้หวัดของเด็ก โดยสามารถนวดบริเวณด้านข้างของนิ้วโป้งเด็กในแนวที่ถูจากเล็บลงไปยังโคนของนิ้ว และนวดคลึงบริเวณอุ้งมือของเด็กสามารถบำรุงการทำงานของม้ามได้ 2. ไม่ควรให้ลูกน้อยทานอาหารประเภทจืดเยอะจนเกินไป เพราะในเด็กช่วง1-3 ขวบ เป็นช่วงเจริญเติบโต หากทานรสจืดมากเกินไปจะทำให้ขาดสารอาหาร ส่งผลให้การเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ สามารถใช้ปลา เนื้อ ไข่ ตับหมู นำมาทำเป็นโจ๊ก เพื่อง่ายต่อการย่อยและได้สารอาหารด้วย 3. ไม่ควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำหวานกระป๋องเยอะจนเกินไป ลดปริมาณน้ำหวาน เช่น น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล น้ำอัดลม เพราะจะส่งผลต่อความอยากอาหารและระบบย่อยอาหาร หากทานน้ำตาลมากเกินไปจะส่งผลทำให้เด็กเกิดโรคอ้วนได้ 4. ไม่ควรให้ลูกน้อยทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็นและของสดมากจนเกินไป ฤดูร้อนนั้นผักประเภทแตงจะค่อนข้างเยอะ โดยผักจำพวกแตงนั้นฤทธิ์จะเป็นเย็น หากให้เด็กทานมากเกินไปจะส่งผลทำให้ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ อาจเกิดอาการอาเจียน ท้องเสีย 5. ไม่แนะนำให้อาบน้ำเย็นหลังจากลูกน้อยไปทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก […]
ดูแลตัวเองอย่างไร? … “ในวันฝนตก” ตามแบบแพทย์แผนจีน
ในทางการแพทย์แผนจีนมีมุมมองสุขภาพเป็นแบบองค์รวม การขาดสมดุลย่อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งสมดุลจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยจากสมดุลภายในร่างกาย และสมดุลระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดความไม่สมดุลจะทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย โดยสภาพอากาศในช่วงหน้าฝน มักมีสาเหตุจากความชื้นเป็นหลัก เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วอาจเกิดอาการต่างๆตามมาได้ ซึ่งสามารถแบ่งความชื้นที่สะสมภายในร่างกายที่พบได้บ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่ 1.ร้อนชื้น เกิดจากการที่มีฝนตกในช่วงที่มีอากาศร้อน อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยคือ ความรู้สึกหนักตัว ตัวร้อนหรือมีไข้ มักเกิดขึ้นในช่วงบ่าย ปากแห้งคอแห้ง แน่นหน้าอก ปัสสาวะมีสีเข้ม 2.เย็นชื้น เกิดจากการที่มีฝนตกติดต่อกันในช่วงที่อากาศเย็น อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ความรู้สึกหนักตัว มือเท้าเย็น ปวดเมื่อยได้ง่าย อาจมีอาการถ่ายเหลว ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่ฝนตก แล้วความชื้นส่งผลต่ออวัยวะใดได้บ้าง? ทางศาสตร์แพทย์จีน มีคำกล่าวไว้ว่า ม้ามและกระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะสำคัญแห่งที่สอง เมื่อฤดูฝนมาถึงปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งม้ามและกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ทำหน้าที่ลำเลียง ขนส่งน้ำในร่างกายและความชื้นได้ ดังนั้น จึงต้องบำรุงม้ามและกระเพาะอาหารเป็นอันดับแรกเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมาได้ ดังนี้ 1. ดื่มซุปและโจ๊กให้มากขึ้น ในช่วงฤดูฝน ม้ามและกระเพาะอาหารจะอ่อนแอง่าย จึงต้องดูแล โดยการดื่มซุปและโจ๊ก เพราะย่อยง่ายและไม่ทำให้อวัยวะทั้งสองทำงานหนักมากจนเกินไป และจะทำให้อุ่นท้องและร่างกาย ลดความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากฝนที่เปียก […]
“อาการบาดเจ็บภายนอก” แบบไหน?…แพทย์แผนจีนช่วยได้ !
อาการบาดเจ็บภายนอกในทางการแพทย์แผนจีนมีมุมมองแตกต่างกันกับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะสาเหตุการเกิดโรค แพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากลงไปในรายละเอียดเป็นรูปธรรมจึงแยกแยะสาเหตุของการเกิดโรคได้มาก แล้วแต่จะมองมุมไหน ตั้งแต่ตัวเชื้อโรค ดีเอ็นเอ ยีน หรือการผิดปกติของสารชีวเคมี เอนไซม์ ฮอร์โมน เซลล์ ฯลฯ แต่แพทย์แผนจีนแบ่งสาเหตุของโรคเพียง 4 ประเภทเท่านั้น คือ 1. สาเหตุจากภายนอก คือ พลังชี่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพลังชี่ของธรรมชาติ ภูมิอากาศ ฤดูกาล ภูมิประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อพลังชี่ของร่างกายตลอดเวลา 2. สาเหตุจากภายใน คือ ภาวะของอารมณ์ทั้ง 7 ของร่างกายที่แปรปรวนรุนแรง รวดเร็ว และยาวนาน รวมทั้งการกินอาหาร การนอน การมีเพศสัมพันธ์และวิถีชีวิต 3. สาเหตุจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด พลังและของเหลว และภาวะยินหยางของร่างกาย จนทำให้เกิดการตกค้างติดขัดไม่ไหลเวียน เรียกว่า เกิดเลือดอุดตัน เสมหะ ของเหลวตกค้าง ก้อนนิ่ว อาหารตกค้าง เป็นต้น 4. สาเหตุบาดเจ็บจากภายนอก เช่น อุบัติเหตุจากของมีคมบาด หกล้ม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก […]
สาเหตุ… “อาการเวียนศีรษะ” ในทางการแพทย์แผนจีน
อาการบ้านหมุนหรือเวียนศีรษะ อาจทำให้คุณรู้สึกวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรงหรือเหมือนคุณกำลังอยู่ในห้องที่กำลังหมุน คนไข้ที่มีอาการบ้านหมุนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไมเกรน เหงื่อออก หรือการเคลื่อนไหวของดวงตาผิดปกติ เห็นภาพซ้อน พูดลำบาก แขนและขาอ่อนแรง หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เป็นสัญญาณบางอย่างของอาการบ้านหมุนที่บ่งบอกว่ามีอาการที่รุนแรงขึ้น ซึ่งในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน สามารถใช้การฝังเข็ม หรือยาสมุนไพรจีนในการรักษาร่วมด้วยได้ ควบคู่ไปกับการฝังเข็มนั้นแนะนำให้ลองทำตามสิ่งเหล่านี้ร่วมด้วยเพื่อลดอาการเวียนศีรษะได้นั่นเอง ออกกำลังกายทุกวัน ดื่มน้ำเยอะๆ กินเกลือให้น้อยลง ลองจัดการกับความเครียด ฝึกโยคะและไทชิ ชี่กง นอนให้เพียงพอ ลองกินแปะก๊วย
ดูแลฟื้นฟูหลังเป็น “โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อ” ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อ (Chikungunya) มีสาเหตุจากยุงลาย และมีอาการเช่นเดียวกับไข้เลือดออก โดยชิคุนกุนยา เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูล Togaviridae โดยมียุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในเมืองใหญ่และชนบท มักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือ บริเวณที่มีน้ำขัง ทั้งนี้ยุงลายมักชุกชุมและออกหากินช่วงกลางวัน ทำให้เด็กๆ ที่ชอบออกมาเล่นนอกบ้านหรืออยู่ในโรงเรียน เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค นอกจากนี้แม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคชิคุนกุนยายังสามารถถ่ายทอดไปยังทารกได้อีกด้วย โดยทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน จะเป็นการรักษาตามอาการในระยะฟื้นฟูเป็นหลัก อย่างเช่น ผู้ที่มีอาการปวดข้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงในช่วงพักฟื้นสามารถใช้การรักษาในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้ โดยจะเน้นกระตุ้นการไหลเวียนเลือด คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด หรือฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และบำรุงอวัยวะภายใน เป็นหลัก ในระยะฟื้นฟูแล้วผู้ป่วยมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดตึงข้อ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถฟื้นฟูรักษาได้ด้วยแพทย์แผนจีน
“ฝังเข็มหน้าใส” ด้วยแพทย์แผนจีน
ตามศาสตร์แพทย์แผนจีนมองว่าการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายของจะส่งผลออกมาทางอวัยวะภายนอกเสมอ ดังนั้นในการดูแลความงามในทางแพทย์แผนจีนจึงเน้นในเรื่องของการทำให้อวัยวะภายในเกิดความสมดุลโดยเฉพาะการทำงานของปอดจะเน้นเป็นพิเศษ เพราะปอดเป็นตัวควบคุมผิวหนังของร่างกาย นอกจากนี้ แพทย์แผนจีนก็จะมองการสะท้อนที่อวัยวะภายในร่างกายอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งหากอวัยวะภายในร่างกายเราป่วย ร่างกายและผิวหน้าก็จะแสดงออกมาดังนี้ อาการแสดงตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดยการฝังเข็มจะมีหลักการปรับสมดุลภายใน ทำให้เลือดลม พลังชี่ ไหลเวียนดีขึ้น เมื่อเลือดลมไหลเวียนดีขึ้นทำให้สุขภาพภายในร่างกายดีขึ้น ส่งผลต่อให้ผิวพรรณได้รับเลือด และสารอาหารเต็มที่ ทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งรวมทั้งมีกลไกในการเพิ่มคอลลาเจนและล้างสารพิษในระบบเลือดเป็นผลให้คุณภาพเลือดดีขึ้นจึงทำให้ปัญหาผิวพรรณบนใบหน้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝ้า กระ สิว ริ้วรอย ผื่นแพ้ ผิวหนัง มีอาการดีขึ้น ซึ่งเมื่อฝังเข็มรักษาแล้วผิวก็จะดูเนียนขึ้น รูขุมขนกระชับขึ้น ทำให้ผิวพรรณสดใสดูสุขภาพดี นอกจากนี้ยังการฝังเข็มยังช่วยยกกระชับใบหน้าได้อีกด้วย
5 ยาดี ดูแลสุขภาพ “ต้อนรับปีใหม่” ในแบบแพทย์แผนจีน
5 ยาดี เพื่อสุขภาพที่ดีต้อนรับปีใหม่ การออกกำลังกาย คือยาบำรุงที่ดีที่สุด การออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพจากภายในสู่ภายนอกในแง่คิดของแพทย์แผนจีน คือ การเน้นการออกกำลังกายที่อาศัยชี่หรือลมปราณ เช่น โยคะ กังฟู ไทจิชี่กง เป็นต้น โดยจะใช้ความตั้งใจหรือสมาธิมากกว่ากำลัง มุ่งเน้นไปที่ความตั้งใจ ใช้ความตั้งใจในการดึงพลังชี่ และใช้พลังชี่เพื่อขยับแขนขา ซึ่งจะสามารถทำให้ชี่และเลือดไหลเวียนได้ดีมากขึ้น พละกำลังจะแข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย การเดินรับแดดในตอนเช้า คือยาที่หาได้ง่ายที่สุด ในตำราแพทย์จีนหวงตี้เน่ยจิง ชี้ให้เห็นว่า พลังของหยางชี่เป็นรากฐานของการรักษาสุขภาพที่ดีและการรักษาโรค โดยดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหยางที่ใหญ่ที่สุดในธรรมชาติ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการอาบแดด เป็นการเติมพลังหยางของร่างกายที่ดีที่สุด ซึ่งโดยให้อวัยวะโดนแสงแดดดังนี้ หัว ช่วยควบคุมพลังชี่ของหยางได้ หลัง ช่วยควบคุมการไหลเวียนของชี่และเลือด ฝ่ามือ ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้าและส่งเสริมการนอนหลับได้ การทำจิตใจให้สงบ คือยาที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดได้ดีที่สุด ในแพทย์จีน กล่าวว่า หัวใจคืออวัยวะที่ควบคุมเลือด ซึ่งถ้าใช้แรงงานมากเกินไปและการคิดมากอาจทำให้ชี่ของหัวใจและเลือดติดขัด ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก นอนไม่หลับ และความจำเสื่อม […]
เมื่อ “ฤดูหนาว” มาถึง… หมอจีนแนะ! ควรทำสิ่งนี้
จากการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์จีนในช่วงเสี่ยวหานเจี๋ยชี่ (小寒节气: ฤดูที่เริ่มหนาว 1 ใน 24 สาร์ทของจีน เริ่มวันที่ 5 6 หรือ 7 ม.ค. แล้วแต่ในแต่ละปี) กล่าวไว้ว่า “การดูแลสุขภาพต้องมาก่อน รักษาความอบอุ่นและปกป้องจากความเย็นถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด” ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวมาถึง หมอจีนแนะนำ สิ่งที่ควรทำมีดังนี้! 3 สิ่งที่ควรทำ! ✅ ทำให้เท้าของคุณอบอุ่น ในทางศาสตร์แพทย์จีนกล่าวว่า จุดฝังเข็มหลายจุดบนฝ่าเท้าซึ่งมีความละเอียดอ่อนมาก ดังสุภาษิตที่ว่า “ความหนาวเย็นเริ่มที่เท้า” โรคต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นที่เท้าเช่นเดียวกัน ✅ ทำให้หัวของคุณอบอุ่น ศีรษะมีอวัยวะสำคัญมากมายและยังเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการสร้างสมดุลความร้อนในร่างกายอีกด้วย ถ้าหัวได้รับความเย็นมากเกินไป อาการหวัดก็จะอยู่ไม่ไกล ✅ ทำให้หลังของคุณอบอุ่น บริเวณหลังมีเส้นลมปราณตูม่ายลากผ่านทั้งบนและล่าง (มีวิถีการไหลเวียนหลักอยู่ตลอดแนวเส้นกลางลำตัวด้านหลังและศีรษะ และเชื่อมโยงกับเส้นลมปราณหยางทุกเส้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของชี่ ในเส้นลมปราณหยางทั้งหมด จึงได้รับสมญาว่า […]
“ไอมีเสมหะ”…กับวิธีดูแลตัวเองแบบไม่ใช้ยา ตามศาสตร์แพทย์จีน
✨ หลีกเลี่ยงการทานของเย็น ไม่แนะนำให้กินเครื่องดื่มเย็นหรือของแช่แข็งเมื่อคุณมีอาการไอ หากทานอาหารที่เย็นเกินไป มันง่ายที่จะทำให้เกิดการอุดตันของชี่ปอด จะทำให้อาการจะรุนแรงขึ้น และจะไม่หายได้ ✨ หลีกเลี่ยงการทานของหวาน มัน ทอด แพทย์แผนจีนเชื่อว่าอาการไอส่วนใหญ่เกิดจากปอดร้อน เมื่อมีอาการไอ การทำงานของระบบทางเดินอาหารจะค่อนข้างอ่อนแอ อาหารทอดๆ จะเพิ่มภาระให้กับระบบทางเดินอาหารและช่วยให้เกิดความชื้นและความร้อนสะสมทำให้เกิดเสมหะ และทำให้อาการไอหายได้ยาก ✨ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวหวาน อาหารรสเปรี้ยวมักจะทำให้เกิดการสร้างเสมหะมากขึ้น ซึ่งทำให้อาการแย่ลงและทำให้อาการไอหายยากขึ้น ไม่ควรกินแอปเปิ้ล กล้วย ส้ม องุ่น ฯลฯ เมื่อมีอาการไอรุนแรง การกินของที่มีรสเปรี้ยวหวานยังช่วยให้ร้อนมากขึ้นและทำให้อาการอักเสบหายยาก ✨ หลีกเลี่ยงการทานเนื้อส้ม หันมาทานเปลือกส้มแทน ส้ม หลายคนคิดว่าส้มสามารถบรรเทาอาการไอและลดเสมหะได้ แต่จริงๆ แล้วเปลือกส้มมีฤทธิ์บรรเทาอาการไอและลดเสมหะ แต่เนื้อส้มกลับสร้างความร้อนและเสมหะแทน ✨ หลีกเลี่ยงการทานถั่วลิสง เมล็ดแตงโม และช็อกโกแลต ถั่วลิสง เมล็ดแตงโม ช็อกโกแลต อาหารดังกล่าวข้างต้นมีน้ำมันมาก ซึ่งเสมหะง่ายต่อการเกิดเสมหะ จะทำให้อาการไอแย่ลง
“ปวดคอร้าวลงแขน” …สัญญาณเตือนที่ต้องรีบรักษา
คนวัยทำงานในปัจจุบันส่วนมาก มักมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นปกติ ดยเฉพาะผู้ที่นั่งทำงานในสำนักงาน หรือชาวออฟฟิศนั่นเอง โดยปกติคนส่วนใหญ่อาจจะปล่อยให้หายไปเองเพราะคิดว่าอาจเกิดจากการนั่งนานๆ แต่ความจริงแล้วควรมาพบหมอเพื่อแยกว่าเป็นอาการที่เกิดนั้นคือ Office Syndrome หรือหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกันแน่ อาการปวดคอ เป็นอาการที่พบบ่อยมากที่สุด ซึ่งเกิดจากการใช้คอผิดท่าผิดทางเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเกิดการเกร็งตัวเป็นเวลานานจนเกิดความล้าและเจ็บปวด นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่ทำให้ปวดคอ เรื้อรังได้ ได้แก่ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม อาจมีกระดูกงอกแล้วเบียดทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทที่จะไปเลี้ยงแขน เป็นต้น ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เริ่มมีอาการปวดร้าวลงไปถึงแขน ร่วมกับอาการชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ลักษณะนี้เป็นอาการแสดงที่เกิดจากเส้นประสาทสันหลังส่วนคอถูกรบกวน คนไข้อาจมีอาการปวดหรือชาลงมาตามบริเวณแขน ข้อศอก หรือนิ้วมือได้ ในทางศาสตร์แพทย์จีนได้จัดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้อยู่ใน กลุ่มโรคชาและปวดเมื่อย (痹症) เกิดจากเส้นลมปราณติดขัด ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเกิดภาวะเลือดคั่ง ทำให้เกิดอาการปวดได้ ตามหลักการทางแพทย์จีน คำว่า “ปวด” แสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด ส่วนพิษของลมและเย็นชื้น ที่สะสมในเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่จะจับตัวเป็นก้อน ทำให้เส้นลมปราณและหลอดเลือดติดขัดมากยิ่งขึ้น เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกคอจะได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจึงเสื่อมลงได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติหลายๆอย่างตามมาได้ โดยการรักษาจะเน้นการช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณที่เกร็งนั้น […]
“ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic Eczema) เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดที่ไม่ร้ายแรง โดยจะเกิดตุ่มน้ำใส ๆ บริเวณนิ้ว ฝ่ามือ และฝ่าเท้า อาจทำให้รู้สึกปวดและคันอย่างรุนแรง แต่สามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ และอาจกลับมาเกิดซ้ำได้เช่นกัน ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ภูมิแพ้ การล้างมือบ่อย หรือมือสัมผัสน้ำบ่อย และความเครียด เป็นต้น ในทางการแพทย์แผนจีนจำกัดโรคนี้คือ 汗疱疹 โดยเชื่อว่ามีสาเหตุหลักมาจากความชื้นในร่างกายที่มากเกินไป หรือการสะสมของสารพิษในร่างกายเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชั้นผิวหนังต่างๆ ก่อให้เกิดโรคนี้ได้ จากมุมมองของแพทย์แผนจีน การรักษาโรค 汗疱疹 ต้องใช้หลักกำจัดความชื้นในร่างกายก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค หลังจากนั้นร่างกายจะค่อยๆปรับและกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ โดยทางการแพทย์แผนจีนรักษาโรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ โดยใช้การฝังเข็มร่วมกับยาจีน โดยใช้หลักการกระตุ้นการทำงานของม้ามและกำจัดความชื้นในร่างกาย วิธีการดูแลป้องกันรักษาตนเองในทางแพทย์จีน เพื่อไม่ให้เกิด “ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ” อาหารที่ควรทาน ควรเป็นอาหารประเภทจืด ควรทานประเภทผักและผลไม้เยอะๆ เพื่อทำให้อาการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ไม่ควรทานอาหารที่กระตุ้นทำให้เกิดโรค เช่น […]
“ปวดปลายประสาทหลังจากเป็นงูสวัด” …กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ปวดปลายประสาทหลังจากเป็นงูสวัด (Postherpetic Neuralgia) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยหลังเป็นงูสวัดของผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 60 ปี มีลักษณะปวดลึกๆแบบปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา หรือปวดแปลบๆ ปวดเสียวเป็นพักๆ หรือปวดเมื่อถูกสัมผัสเพียงเบาๆ พบว่ายิ่งอายุมาก ยิ่งปวดรุนแรงและเป็นนาน มักจะหายได้เองภายใน 3-6 เดือน แต่บางรายอาจปวดนานเกิน 6 เดือนหรือหลายปี ในทางการแพทย์แผนจีนอาการของการปวดปลายประสาทหลังจากเป็นงูสวัดจัดอยู่ในขอบเขตของ โรคงูสวัด(蛇串疮)โดยสาเหตุของการเกิดโรคงูสวัดส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีประวัติเครียด คิดมาก หรือมีพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การทานอิ่มมากเกินไปหรือทานน้อยเกินไป บวกกับพักผ่อนน้อย อดหลับอดนอน ทำให้เกิดภาวะชี่ของตับและม้ามผิดปกติ เกิดเป็นความร้อน และเมื่อถูกปัจจัยภายนอกมากระทบ เช่น ลมร้อน ลมเย็น ความชื้น จนทำให้เกิดงูสวัดเกิดขึ้น นอกจากนี้ในผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอมักมีภาวะเลือดน้อยตับแกร่ง ทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมภายใน เกิดภาวะ “เลือดคั่งจากชี่ติดขัด” อุดกั้นเส้นลมปราณ ทำให้เกิดอาการปวด ตามทฤษฎี “หากชี่เลือดเดินไม่สะดวกจะทำให้เกิดอาการปวด” โดยการรักษาจะใช้การฝังเข็ม ร่วมกับยาจีน โดยจะเน้นการลดพิษ ขับร้อน ลดอาการปวด และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดเป็นหลัก
“โรคความเหนื่อยล้า” …กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคความเหนื่อยล้า (Consumptive Disease) ในทางแพทย์แผนจีนเป็นโรคที่เกิดจากการบริโภครวมถึงความผิดปกติเรื้อรังต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งความบกพร่องของอวัยวะตัน (ตับ หัวใจ ม้าม ปอด ไต) และอวัยวะกลวง (ถุงน้ำดี ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว) และการไม่เพียงพอของชี่ เลือด หยินและหยาง ก่อให้เกิดโรคพื้นฐาน โดยสาเหตุและการเกิดโรคในทางแพทย์จีน แบ่งได้ 3 กรณี คือ สภาพร่างกาย >> ความพิการแต่กำเนิด ภาวะทุพโภชนาการก่อนคลอดและหลังคลอด การบาดเจ็บจากการคลอด ฯลฯ อาจนำไปสู่สภาพร่างกายที่ไวต่อการเกิดโรค ชีวิต >> อาหารการกิน สภาพความเป็นอยู่ อารมณ์ ความเครียด และการตามใจ ล้วนส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ตัวอย่างเช่น ความเครียดทางจิตใจอาจทำให้หัวใจและม้ามบกพร่อง การมีเพศสัมพันธ์อาจทำลายไต การบริโภคอาหารและการดื่มที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอลง เมื่ออวัยวะหนึ่งเป็นโรค อวัยวะอื่นๆ อาจมีส่วนร่วมด้วย […]
รู้หรือไม่ ? วิตกกังวัลมากเกินไป…มีผลต่อระบบย่อยอาหาร
บางครั้งคนโดยทั่วไปอาจจะยังไม่รู้ว่า อารมณ์ความคิด และความรู้สึกต่างๆมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายทั้งนั้น โดยตามศาสตร์แพทย์จีน แบ่งความผิดปกติทางอารมณ์ที่เป็นสาเหตุของโรคมี 7 แบบ คือ โกรธ ยินดี เศร้าโศก วิตกกังวล ครุ่นคิด หวาดกลัว ตกใจ ซึ่งจะส่งผลต่ออวัยวะภายในต่างๆ เช่น ความโศกเศร้าส่งผลต่อปอดของเรา ดังนั้นเมื่อเราอารมณ์เศร้า เราจะมีปัญหาในการหายใจ หรือถ้าเราคิดมาก ก็จะส่งผลต่อม้าม กระเพาะอาหาร ทำให้เกิดภาวะแน่นท้อง เบื่ออาหารได้ และถ้าเรามีความกังวลมากเกินไปทำให้พลังงานในการย่อยอาหารของเราถูกบล็อก ดังนั้นพลังงานจึงสูญเสียไปที่จะพยายามทำให้มันเคลื่อนไหวและในที่สุดมันก็จะอ่อนแอลง อาการนี้อาจแสดงออกมาเป็นอาการท้องอืด คลื่นไส้ เหนื่อยล้า ลำไส้ผิดปกติ และภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาเกี่ยวกับสมาธิอีกด้วย โดยอาการต่างๆเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดยจะเน้นการลดคสามเครียด สงบจิตใจ ลดการอักเสบและระคายเคืองของลำไส้ ปรับสมดุลอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การ… ✅ ฝังเข็ม ✅ ยาจีน *** ในกรณีที่อาการของคนไข้เรื้อรัง อาจจะต้องทำกายบริหาร และวิธีอื่นๆตามที่แพทย์แนะนำ อีกทั้งยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
“โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรครองช้ำ ในทางการแพทย์จะเรียกกันอีกชื่อว่า “โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ” หรือ “พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ” (Plantar Fasciitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณที่พังผืดยึดกับกระดูกส้นเท้า ผู้ป่วยมักมีการเจ็บปวดบริเวณส้นเท้าเวลาลงน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก ๆ ของการลงน้ำหนัก เช่น ตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากการนั่งนาน ๆ แต่เมื่อเดินไปเรื่อย ๆ อาการปวดจะดีขึ้น ซึ่งในนักวิ่งก็เช่นกัน อาการปวดจะมีมากในช่วงแรกของการวิ่ง เมื่อวิ่งไปได้ระยะหนึ่ง อาการปวดจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่จะกลับมาปวดอีกครั้งเมื่อหยุดวิ่ง เมื่อเป็นมาก ๆ จะมีอาการปวดตลอดเวลา ในทางการแพทย์แผนจีน อาการปวดส้นเท้าตามทฤษฎีพื้นฐานของการแพทย์แผนจีนโดยทั่วไปถือว่าเกิดจากความบกพร่องของอินของตับและไต อินในที่นี้หมายถึงสารที่หล่อเลี้ยงเส้นเอ็น กระดูกทั่วร่างกาย โดยเฉพาะตับและไตที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุดเนื่องจากตับควบคุมเส้นเอ็น ไตควบคุมกระดูก เมื่ออินของตับและไตไม่เพียงพอเส้นเอ็นจึงเกิดความยืดหยุ่นและกระดูกเปราะบาง การทำงานผิดปกติและจะเกิดการเจ็บปวด ทำให้มีอาการปวดส้นเท้าหรือรองช้ำ อีกทั้ง ในทางแพทย์แผนจีนยังอธิบายอีกว่าอาการบาดเจ็บมากในช่วงตื่นเช้า หรือ จากการนั่งพักนานๆ พอจะลงน้ำหนักจะเจ็บปวดเนื่องจาการไหลเวียนของพลังลมปราณ และเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ลดลง เมื่อการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอก็จะมีอาการปวด […]
นั่งนานเกินไป ระวัง! “กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท” กับการรักษาในทางแพทย์แผนจีน
สลักเพชรจม หรือกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) เกิดจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้รู้สึกปวดลึกๆ บริเวณก้นร้าวไปยังขาด้านหลัง และรู้สึกเจ็บเมื่อกดในบริเวณดังกล่าว ในบางกรณีอาจมีอาการชาร่วมด้วย ซึ่งอาการจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อนั่ง หรือยืนท่าเดิมเป็นระยะเวลานานๆ สาเหตุการเกิดสลักเพชรจม เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า ออกกำลังกายมากเกินไป หรือ วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง นั่งเป็นเวลานาน หรือ ยกของหนัก เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง เช่น ลื่นล้ม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น ในทางแพทย์จีน จัดอยู่ในกลุ่มของอาการปี้เจิ้ง (痹症) โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ กลุ่มอาการเย็นชื้น กลุ่มอาการชื้นร้อน กลุ่มอาการเลือดคั่ง และกลุ่มอาการตับและไตพร่อง ซึ่งการรักษาจะรักษาแตกต่างกันตามอาการ โดยเน้นบำรุงรักษากล้ามเนื้อเป็นหลัก แพทย์จีนสามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็มร่วมกับการครอบแก้ว โดยเน้นการกระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกและต้นขาให้แข็งแรง ลดอาการปวด และ ขับความชื้น บำรุงตับและไต
“โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ” กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ หรืออาการเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นบริเวณข้อมือด้านหลังทางฝั่งนิ้วโป้ง ทำให้เกิดการตีบหรือหดตัวการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นภายในโดยส่วนใหญ่สาเหตุของอาการเกิดจากความเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้นหรือจากการใช้งาน รวมถึงโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น โรครูมาตอยด์ ที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ใช้มือทำงานบ่อยๆ ซ้ำๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ – กลุ่มคนทำงาน , ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ – ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid) – ผู้หญิงตั้งครรภ์ ในทางการแพทย์แผนจีนจะเรียกโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบเป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ( 伤筋 ) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเส้นเอ็นบริเวณข้อมือและนิ้วมือ ใช้งานที่หักโหมจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสมเรื้อรัง และได้รับความเย็น ความชื้น มากระทบทำให้เส้นลมปราณถูกอุดกั้น จึงทำให้ชี่และเลือดเกิดการติดขัดไหลเวียนไม่คล่อง เมื่อชี่และเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้ จึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น โดยการรักษาในทางการแพทย์แผนจีน จะใช้การฝังเข็ม เพื่อเน้นการคลายเส้นเอ็น ลดอาการปวด ลดอาการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด เป็นหลัก ร่วมกับบางกรณีที่มีการใช้การครอบแก้ว เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและต้นเขนร่วมด้วย
นิสัยชอบ “กัดเล็บ” บ่งบอกความผิดปกติ…ในทางการแพทย์แผนจีน
คุณเคยมีนิสัยชอบกัดเล็บบ้างหรือไม่ ? การกัดเล็บเป็นนิสัยที่ใครหลายคนอาจทำโดยไม่รู้ตัว ซึ่งในความเป็นจริง อาการเหล่านี้อาจเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่างๆที่ทำงานผิดปกติก็ได้ ในการแพทย์แผนจีน จะสื่อความหมายได้ว่า อาการกัดเล็บที่เกิดขึ้นนั้น มักเกี่ยวข้องกับการทำงานของอวัยวะต่างๆด้วย เพราะหลักในทางการแพทย์แผนจีน ระบบร่างกายและการทำงานของจิตใจย่อมสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยการกัดเล็บอาจเป็นการแสดงอาการของความเครียดทางจิตใจ ความกังวลใจ ความผิดหวัง ความเบื่อหน่าย ความหิว หรือความรู้สึกไม่ปลอดภัย ความรู้สึกเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลทางภายในร่างกาย การกัดเล็บอาจถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำซึ่งมักเกิดจากความวิตกกังวลและกังวลใจ ซึ่งในหลักการแพทย์จีน ความวิตกกังวลเป็นอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบอวัยวะม้ามซึ่งจับคู่กับกระเพาะอาหาร เล็บโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับอวัยวะตับ และความบกพร่องหรือความไม่สมดุลของตับ สามารถดึงความสนใจไปที่เล็บได้ พร้อมกับความรู้สึกเครียด โกรธ และหงุดหงิด ซึ่งเป็นเหตุผลที่คนกัดเล็บ ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบตับและถุงน้ำดี หากคุณมีอาการเหล่านี้ การฝังเข็มหรือรับประทานยาจีน จะช่วยปรับการทำงานของม้ามและตับได้
กดจุดดูแลตนเอง…เมื่อคุณมีอาการ “ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ”
ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โดยเส้นประสาทนี้จะทำหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง และควบคุมกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ ถ้าโพรงของเส้นประสาทนี้ตีบแคบ ก็จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดชา บริเวณนิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วนาง โดยจะมีอาการชา เหน็บหรือปวดแสบร้อนบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง อาจเกิดขึ้นขณะหลับ จนทำให้ต้องตื่นนอนขึ้นมาสะบัดมือ หรือ นวดฝ่ามือเพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น ในทางการแพทย์แผนจีนจะเรียกกลุ่มอาการเส้นประสาท midian บริเวณมือถูกกดทับว่า เป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ( 伤筋 ) ซึ่งสาเหตุอาจเกิดโดยฉับพลัน หรือเกิดจากการใช้งานที่หักโหมทำให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสมเรื้อรัง จนทำให้เลือดคั่งอุดกั้นเส้นลมปราณ ร่วมด้วยได้รับความเย็น ความชื้น มากระทบเส้นเอ็น จึงทำให้ชี่และเลือดเกิดการติดขัดไหลเวียนไม่คล่อง “ไม่คล่องจึงปวด” เมื่อชี่และเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดชาขึ้น โดยคนไข้สามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นด้วยการนวดกดจุดตามศาสตร์แพทย์จีน หรือสามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม เพื่อลดอาการปวด กระตุ้นการทำงานของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ และคลายเส้นเอ็นที่หนีบรัดเส้นประสาทเพื่อให้ชี่และเลือดไหลเวียนได้สะดวก *** ในกรณีที่อาการของคนไข้เรื้อรัง อาจจะต้องทำกายบริหาร และวิธีอื่นๆตามที่แพทย์แนะนำ อีกทั้งยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน […]
รู้หรือไม่ ? ทานแต่ละรสชาติมากเกินไป…ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย
ในทางทฤษฎีปัญจธาตุของแพทย์แผนจีน จะแบ่งรสชาติของอาหารออกเป็น 5 ประเภท คือ เปรี้ยว ขม หวาน เผ็ด เค็ม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอวัยวะในร่างกาย คือ รสเปรี้ยวสัมพันธ์กับตับและถุงน้ำดี รสขมสัมพันธ์กับหัวใจและลำไส้เล็ก รสหวานสัมพันธ์กับม้ามและกระเพาะอาหาร รสเผ็ดร้อนสัมพันธ์กับปอดและลำไส้ใหญ่ รสเค็มสัมพันธ์กับไตและกระเพาะปัสสาวะ โดยตามทฤษฎีของแพทย์แผนโบราณจีนถือว่า อาหารรสเปรี้ยวช่วยกระตุ้นน้ำ ดับกระหาย ระงับเหงื่อ อาหารรสหวานมีสรรพคุณสำคัญด้านการบำรุง อาหารรสขมช่วยระบายท้อง แก้ร้อนใน อาหารรสเผ็ดช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและชี่ อาหารรสเค็มเล็กน้อยจะช่วยบำรุงไต อาหารที่มีลักษณะเย็นเหมาะกับผู้ป่วยธาตุร้อน ส่วนอาหารที่มีลักษณะอุ่นร้อนเหมาะกับผู้ป่วยธาตุเย็น เป็นต้น ซึ่งถ้าทานมากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นนั้น ทางศรีริกุลคลินิกจึงมีความรู้ดีๆมาฝากกันค่ะ ว่าถ้าเราทานอาหารแต่ละรสที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรกันบ้าง ? ดังนั้นการรับประทานอาหารให้สมดุล และถูกช่วงเวลา จะส่งผลดีต่อร่างกายอย่างมาก
“ผักกาดขาว” ของดีในหน้าหนาว…ในแบบแพทย์แผนจีน
ผักกาดขาว (白菜) เป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูง และเป็นเส้นใยชนิดไม่ละลายน้ำ ทำให้มีกากอาหารมากและอ่อนนุ่ม อีกทั้งยังมีสารอาหาร อาทิ แคลเซียม โพแทสเซียม ใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ และวิตามินเค รวมถึงสารอาหารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ผักกาดขาวสามารถขจัดความร้อนและความชื้น ทำให้เลือดเย็นและล้างพิษได้ และมีผลเสริมการรักษาที่ดีสำหรับอาการต่างๆที่ส่งผลมาจากธาตุไฟขึ้นไปด้านบนมากเกินไป เช่น การมีกลิ่นปากและอาการปากแห้ง เป็นต้น สรรพคุณในทางการแพทย์แผนจีน ✅ กระตุ้นการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก เพราะผักกาดขาวเป็นผักมีเส้นใย และเป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำและจะพองตัวเมื่อมีน้ำ จึงอุ้มน้ำได้ดีทำให้มีกากอาหารสูงในทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานผักกาดขาว กากอาหารจะทำให้ลำไส้อ่อนนุ่ม ช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น ✅ บำรุงกระเพาะอาหาร สร้างสารน้ำในร่างกาย ผักกาดขาว มีฤทธิ์หวาน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยดับกระหาย ไร้สารพิษ มีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร ในทางแพทย์แผนจีน สารต่างๆ ที่มีอยู่ในผักกาดขาวมีหน้าที่บำรุงกระเพาะอาหาร ขับน้ำในร่างกาย ขับความร้อน ซึ่งสามารถช่วยลดอาการปวดท้องและอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากการขาดหยินในกระเพาะอาหารจึงเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย ✅ […]
“โรคชอบเปรียบเทียบ” มีจริงหรือ ? …ในแบบแพทย์แผนจีน
โรคชอบเปรียบเทียบไม่ใช่โรคที่ถูกบัญญัติไว้ในตำราจิตเวชศาสตร์ ทว่าภาวะนี่ก็จัดเป็นกลุ่มอาการที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ใจจนกระทั่งใช้ชีวิตประจำวันติดขัด เปรียบเทียบอย่างไรถึงจะเข้าข่ายเป็นโรค สามารถจำแนกได้โดยความถี่ของการคิดเปรียบเทียบ เช่น คิดวนเวียนซ้ำ ๆ คิดเปรียบเทียบกับทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้จิตตกและไม่มีความสุข จนกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ ในทางแพทย์จีน สามารถตีความหมายของโรคนี้ได้ คือ โรคทางจิตเวช (精神病) โดยมองว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ค่อนข้างซับซ้อน อาจเกิดจาก ปัจจัยภายนอกทั้ง 6 หรือ จากอารมณ์ทั้ง 7 อันได้แก่ โกรธ รัก ครุ่นคิด เศร้าหมอง กลัว ตกใจ กังวลที่มากเกินไป จนทำให้เกิดการอุดกลั้นของเลือดและลมปราณ เสมหะอุดกลั้นหัวใจ จนนำไปสู่เลือดลมหยินหยางเสียสมดุล ทำให้จิตใจและสมองขาดการหล่อเลี้ยง จุดประสงค์ในการรักษาในทางแพทย์จีน ✅ ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก เพื่อทำให้อวัยวะภายในทำงานได้เป็นปกติ ✅ บำรุงการทำงานของหัวใจและตับ ✅ สงบจิตใจ ทำให้ลมปราณไหลเวียนขึ้นสู่ด้านบน ✅ ปรับสมดุลภายในของหยินและหยาง *** ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของคนไข้ การฝึกจิตให้สงบนิ่งและเข้มแข็งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
รักษาอาการ “ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ” ด้วยการแพทย์แผนจีน
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc) คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ หมอนรองกระดูกจะทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีของกระดูกสันหลัง โดยปกติแล้วอาการของกลุ่มโรคนี้จะไม่แสดงอาการปวดบริเวณเอว แต่ออกมาเป็นอาการชาเสียมากกว่า โดยอาการชานั้นจะไม่ใช่อาการชาทั้งขา แต่จะมีอาการตามแนวเส้นประสาทตามข้อ สาเหตุการเกิดโรค หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้จากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ซึ่งปัจจัยในเรื่องของอายุมีผลมากทีเดียว เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกที่เป็นเมือกใสจะสูญเสียความยืดหยุ่นไป จึงทำให้มีโอกาสที่จะเลื่อนไปโดนเส้นประสาท และสิ่งที่เร่งให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้เร็วก็คือ ลักษณะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น บางคนทำงานยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก การเล่นกีฬาที่ต้องส่งแรงกระแทกซ้ำๆ ไปที่หมอนรองกระดูก การเคลื่อนไหวผิดท่าทางโดยฉับพลัน บางคนรับประทานมากจนทำให้อ้วน ก็ส่งผลต่อหมอนรองกระดูกเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งทำให้เกิด หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือเกิดการฉีกขาดจนเป็น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้ ในทางการแพทย์แผนจีนได้จัด โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ให้อยู่ใน กลุ่มโรคชาและปวดเมื่อย (痹症) จากเส้นลมปราณติดขัด ซึ่งมีสาเหตุจากพลังลมปราณพร่องลงตามวัย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเกิดภาวะเลือดคั่ง กีดขวางการไหลเวียนของโลหิตจนเกิดอาการปวด ซึ้งจะมี2 ระยะคือระยะเฉียบพลัน(ไม่เกิน6 เดือน) จะรักษาได้ผลดี และและระยะเรื้อรัง(เกิน6 เดือนขึ้นไป) จะรักาษาเห็นผลค่อนข้างช้า การรักษาในทางการแพทย์แผนจีน สามารถรักษาได้หลากหลายวิธี […]
รักษาอาการ “ไหล่ติด” (Frozen shoulder) …ด้วยการแพทย์แผนจีน
ไหล่ติด (Frozen shoulder) เป็นอาการที่ไม่สามารถยกแขนได้สุด หากยกแขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด โดยอาการข้อไหล่ติดจะเกิดทุกทิศทางในการเคลื่อนไหว ทั้งไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการไหล่ติด สามารถแบ่งอาการได้ตามระยะต่างๆ ดังนี้ ระยะการอักเสบ เป็นระยะที่มีอาการปวดข้อไหล่ มากสุด โดยเฉพาะจะมีอาการปวดเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ จะปวดมากเวลากลางคืน หรือนอนทับข้อหัวไหล่ด้านที่มีปัญหา ระยะติดแข็ง ข้อยึดติด อาการปวดจะลดลง จะมีอาการปวดตื้อๆ ได้ตลอดวัน บางครั้งอาจมีอาการปวดแปล็บเวลาเคลื่อนไหว ระยะเริ่มฟื้นตัว คลายตัว เป็นระยะที่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้มากขึ้น อาการปวดจะลดลง ในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน อธิบายว่า ไหล่ติด (Frozen shoulder) เกิดจาก รอยโรคเกิดขึ้นที่เส้นทางเดินลมปราณและเส้นเอ็น มักเกิดในช่วงอายุห้าสิบปี เจิ้งชี่ไม่พอ จิงเว่ยพร่อง ไหล่มีการกระทบลมเย็น หรือมักนอนตะแคง เมื่อทางไหลเวียนของเส้นลมปราณถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน ทำให้เลือดลมติดขัดก่อให้เกิดอาการปวดหรือชา การปวดไหล่นานเลือดลมไหลติดขัดหรือไม่คล่อง เกิดการคั่งทำให้เกิดการบวมติด จนไหล่เคลื่อนไหวลดลงในที่สุด โดยการรักษาจะใช้การฝังเข็ม เพื่อลดอาการปวด ลดอักเสบ ทำให้ชี่และเลือดไหลเวียนได้ดี และในบางกรณีอาจมีการใช้การครอบแก้ว เพื่อคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย โดยหลังจากการรักษาควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักและพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมันๆ อาหารเย็น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา […]
กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท…รักษาโดยแพทย์แผนจีน
โรคกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท (Cervical Spondylosis) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพชำรุดเสียหายของหมอนรองกระดูกต้นคอกดเบียดเส้นประสาทไขสันหลัง โดยปกติโรคนี้มักสัมพันธ์กับช่วงอายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 40 – 50 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โรคกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท ในทางแพทย์จีนเรียกว่า 颈椎病 ปัจจัยก่อโรคในทางแพทย์จีน ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บบริเวณต้นคอเรื้อรัง ปัจจัยก่อโรคภายนอก(ความเย็น ความชื้น) ตับไตทำงานได้ไม่ดี และการไหลเวียนของชี่และเลือดไม่ดี โดยสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ ประเภทปวดต้นคอ พบได้มากในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาวทำงาน มีอาการปวดเมื่อย ตึงๆหนักๆรู้สึกไม่ค่อยสบายบริเวณต้นคอ บางครั้งจะปวดร้าวไปถึงบริเวณท้ายทอยไหล่และหลัง การเคลื่อนไหวของคอติดขัดคล้ายๆกับ “อาการตกหมอน” สาเหตุที่ก่อให้เกิดมักจะเกิดจากท่านอนหนุนหมอนที่ไม่เหมาะสม ได้รับความเย็น และมีอาการต้นคอเคล็ดเฉียบพลัน เป็นต้น ประเภทรากประสาทถูกกดทับ คอ ไหล่ แขนข้างหนึ่ง จะมีอาการปวด ชา เป็นๆหายๆบ่อยครั้ง อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อเงยหน้า หรือไอ มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือ การเคลื่อนไหวไม่คล่อง ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด มักเกิดจากการทำงานหนัก […]
“นาฬิกาชีวิต” เคล็ดลับดูแลสุขภาพ…ตามหลักแพทย์แผนจีน
ทางศาสตร์แพทย์แผนจีนเชื่อว่า ธรรมชาติและมนุษย์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ร่างกายของเราจะปรับเปลี่ยนตามปี วัน เวลา ฤดู นั่นก็เพราะร่างกายของคนเราจะมีเส้นลมปราณหลายเส้น ในแต่ละเส้นจะมีชื่อและคุณสมบัติเฉพาะ รวมถึงมีจังหวะเวลาที่แน่นอน ถ้าเลือดและลมปราณเหล่านี้ไหลเวียนไม่ดี ก็อาจจะเกิดโรคขึ้นได้ด้วยนะ เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาเรียนรู้การจัดตารางเวลาชีวิตเพื่อดูแลสุขภาพของตัวเองกันค่ะ โดยแนวความคิดตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน จะแบ่งเวลาใน 1 วัน ออกเป็น 12 ชั่วยาม โดยที่ 1 ชั่วยาม จะเท่ากับ 2 ชั่วโมง ดังนั้น หมอจีนจึงแนะนำให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามนาฬิกาชีวิต และถึงแม้ว่าเราจะเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนประเทศ สลับ Time Zone จากกลางคืนเป็นกลางวันก็ไม่ต้องกังวลไปนะ เพราะร่างกายเราฉลาด ปรับตัวตามแสงอาทิตย์และความมืดได้อยู่แล้ว หรือคนที่ต้องทำงานเป็นกะ นอนไม่เป็นเวลาตามนี้ก็ไม่ต้องกังวลเช่นเดียวกัน เพราะสามารถสลับโหมดได้ ขอแค่พยายามล็อกเวลาให้ใกล้เคียงเดิมทุกวัน เพียงเท่านี้ร่างกายของเราก็จะปรับตัวจนเกิดสมดุลไม่ป่วยง่ายแล้วละค่ะ ข้อควรปฏิบัติในช่วงเวลาแต่ละช่วงว่าเกี่ยวข้องกับอวัยวะอะไรบ้าง ? 01:00-03:00 น. เวลาของตับ ต้องหลับให้สนิท 03:00-05:00 น. เวลาของปอด […]
รักษาอาการ “ นอนไม่หลับ ” …ด้วยแพทย์แผนจีน
ในปัจจุบันโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานและผู้สูงอายุ ซึ่งอาการของโรคนอนไม่หลับ คือไม่สามารถนอนหลับได้เป็นปกติ ระยะเวลาในการนอนหลับน้อยกว่าปกติ (โดยทั่วไปน้อยกว่า 4-6 ชั่วโมง) อาการที่สำคัญมีดังนี้ ในทางแพทย์แผนจีน อาการนอนไม่หลับ เกิดจากปัจจัยภายนอกมากระทบอารมณ์แล้ว หรืออาจเกิดจากปัจจัยภายในได้ เช่น แหล่งสร้างสารบำรุงร่างกายไม่เพียงพอ การหมุนเวียนของเลือดในร่างกายไม่ดี และอาจเกิดจากการทำงานของอวัยวะภายในร่างการที่ทำงานไม่สอดคล้องกัน อวัยวะที่เกี่ยวข้องเช่น หัวใจ ไต ตับ ม้าม และถุงน้ำดี ซึ่งอาการหลักๆ ก็คือ เข้านอนลำบากหรือตื่นง่าย หรือ ตื่นแล้วนอนต่อลำบาก และในรายที่อาการหนักนจะไม่สามารถหลับทั้งคืน หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น ขี้ลืม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง จิตใจกระสับกระส่าย ฝันมาก รวมไปถึงมีภาวะวิตกกังวล และ อาการซึมเศร้าร่วมด้วย ในการรักษาอาการนอนไม่หลับโดยใช้ศาสตร์แพทย์จีนนั้น จะทำการตรวจวินิจฉัยอาการและทำการรักษาโดยการฝังเข็มร่วมกับการใช้ยาสมุนไพรจีน เน้นการปรับสมดุลภายใน ปรับสมดุลยินและหยาง บำรุงการทำงานของตับและม้าม รักษาจากต้นเหตุของการเกิดโรค เพื่อการนอนนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น […]
4 ระยะ Check ! “ อาการนิ้วล็อค ”
โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) หรือ โรคปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ (Stenosing flexor tenosynovitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้ ในทางการแพทย์แผนจีนจะเรียกโรคนิ้วล็อคว่า เป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ( 伤筋 ) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการใช้งานที่หักโหมจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ และมีความเย็น ความชื้น ร่วมด้วยมากระทำ อุดกั้นเส้นลมปราณ จึงทำให้ชี่และเลือดเกิดการติดขัดไหลเวียนไม่คล่อง เมื่อชี่และเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้ จึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น โดยการรักษาในทางแพทย์จีนจะใช้การฝังเข็มร่วมกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า หรือโคมร้อน โดยจะเน้น ลดอาการปวดและลดการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด คลายเส้นเอ็น ทำให้ชี่และเลือดไหลเวียนได้สะดวก เป็นต้น
5 อาการที่แสดงว่า “หัวใจ” …กำลังมีปัญหาในแบบแพทย์จีน
ในทางแพทย์จีน มีคำกล่าวว่า “ หัวใจนั้นเป็นจ้าวแห่งอวัยวะตันทั้งห้า และอวัยวะกลวงทั้งหก ” ในทางสรีรวิทยาหัวใจควบคุมเลือดและการไหลเวียนของเลือด เส้นเลือดเป็นเส้นทางลำเลียงเลือดจากหัวใจ หัวใจสูบฉีดเลือดไหลเวียนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามเส้นเลือด ซึ่งถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ซึ่งในทางแพทย์จีนถ้าหัวใจมีปัญหา ก็จะแสดงออกมาสู่ภายนอก ดังนั้น วันนี้ทางศรีริกุลคลินิกจะมาบอก “5 อาการในทางแพทย์จีน ที่บ่งบอกว่าหัวใจของคุณกำลังมีปัญหา” เจ็บหรือแน่นบริเวณหน้าอก มักเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการแสดงทั่วไปคือเจ็บแน่นหน้าอกหรือปวดหลังส่วนอกหรือปวดแบบกดทับ หากมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง อาจบ่งชี้ได้ว่าหลอดเลือดแดงใหญ่กำลังมีปัญหา ใจสั่น หายใจถี่ เมื่อมีอาการหัวใจเต้นเร็วอาจสื่อถึงอันตราย เนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วและเกิดอาการใจสั่นได้ ริมฝีปากสีม่วง ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจมักมีสีม่วงเกิดขึ้นที่ริมฝีปาก ติ่งหู ปลายนิ้ว และปลายจมูก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและคอร์พัลโมนาลี (ภาวะหัวใจห้องล่างขวาโตและล้มเหลว) มักจะแสดงอาการนี้ อาหารไม่ย่อย ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจมีแนวโน้มที่จะทำงานของหัวใจจะลดลง ซึ่งจะนำไปสู่ความแออัดของทางเดินอาหารได้ […]
“ดื่มชา” แบบไหน ? …ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีในแบบแพทย์แผนจีน
เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเรามีประสิทธิภาพต่ำในการทำงานเป็นเวลานาน รู้สึกเหนื่อยง่าย ทำอะไรก็ไม่กระปรี้กระเปร่า นอนไม่หลับ และหลงลืม สัญญาณเหล่านี้บ่งชี้ว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะสุขภาพย่ำแย่ การดื่มชาเป็นประจำสามารถช่วยบำรุงสุขภาพของคุณ วันนี้ทางศรีริกุลคลินิกจะมาแนะนำชาที่ดี 4 ชนิด และเวลาในการดื่มชา ที่จะช่วยให้คุณกำจัดภาวะความเหน็ดเหนื่อยจากสุขภาพที่ย่ำแย่ได้ ดื่มชาเขียวสักแก้วในตอนเช้า ชาเขียว (绿茶)มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพและยังมีวิตามินซี ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกาย แต่ยังหลั่งฮอร์โมนที่ต่อสู้กับความเครียดได้อีกด้วย คาเฟอีนในปริมาณเล็กน้อยในชาเขียวสามารถกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและกระตุ้นจิตวิญญาณได้ อย่างไรก็ตามควรดื่มในระหว่างวันเพื่อไม่ให้กระทบต่อการนอนหลับในตอนกลางคืน ดื่มชาเก๊กฮวยในยามบ่าย เก๊กฮวย (菊花)มีมีสรรพคุณในการบำรุงสายตาและขับสารพิษของจากตับ บางคนแค่ดื่มเก็กฮวยและโกจิเบอร์รี่ด้วยกัน หรือเติมน้ำผึ้งลงในชา จะมีประโยชน์ในการบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย ถ้ารู้สึกเหนื่อย ลองดื่มชาเก๋ากี้ เก๋ากี้ (枸杞子)อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก ซึ่งสามารถบำรุงตับ ไต และบำรุงสายตา เก๋ากี้มีความหวานอยู่ในตัว ใช้ชงเป็นชาหรือเป็นของว่างได้ อีกทั้งยังช่วยแก้ตาฝ่า ตาล้า ของ “คนใช้คอมพิวเตอร์” ได้ผลดีอีกด้วย ดื่มชาชุมเห็ดจีนในตอนเย็น ชุมเห็ดจีน […]
Checklist…อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณกำลัง “ เครียดแบบไม่รู้ตัว ”
ความเครียด (Stress) เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเพศทุกวัย ปัจจุบันนี้พบว่า คนส่วนใหญ่มักมีอาการเครียดสะสม อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่ตึงเครียด บางรายมีความกดดันมาก และมีความคาดหวังในชีวิตสูงซึ่งพอไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง ทำให้มีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต ในทางแพทย์แผนจีนเชื่อว่า ความเครียด เกิดจาก “ตับ” ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่ควบคุมความรู้สึต่างๆในทางแพทย์จีน ซึ่งเมื่อเราเกิดความเครียดจะทำให้ลมปราณในร่างกายติดขัด โดยเฉพาะลมปราณของตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ควบคุมการระบายและไหลเวียนของชี่ เลือด และสารจำเป็นต่างๆในร่างกาย ถ้าไม่ระบายมันมันออกก็จะเกิดอาการต่างๆตามมาได้ อย่างเช่น จะทำให้ม้ามหรือระบบย่อยอาหาร ทำงานด้อยลง เกิดการสะสมของเสมหะภายในร่างกาย ทำให้บางคนมีความรู้สึกคล้ายกับมีก้อนอะไรบางอย่างติดอยู่ภายในลำคอได้ โดยสาเหตุที่จะพบบ่อยคือ ชี่ของตับติดขัด ไฟตับขึ้นด้านบน ม้ามและตับพร่อง การดูแลตัวเองในฉบับหมอจีน ออกกำลังกาย สามารถทำได้หลายรูปแบบในแบบที่ตัวเองชอบ ซึ่งการออกกำลังกายจะช่วยขับเคลื่อนลมปราณที่ติดขัดอยู่ภายในร่างกายให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น นอกจากนี้เหงื่อที่ออกมาเยอะๆยังจะช่วยระบายความร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี การรับประทานอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยขับเคลื่อนลมปราณที่ติดขัด ระบายชี่ที่ตับ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ได้แก่ […]
กดจุด ” แก้สะอึก ” …ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน
อาการสะอึก จัดเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน จัดเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติโดยที่ร่างกายไม่สามารถคุมได้ โดยทั่วไปอาการที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้น หรือหายโดยไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุจะเกิดจากการที่กระบังลม และกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียงโดนรบกวน ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ และกระบังลม ไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เกิดการหายใจที่ติดขัดผิดปกติ จนมีผลให้ฝากล่องเสียงทำงานไม่สอดประสานกับจังหวะหายใจทำให้เกิดอาการสะอึกขึ้นมา ในมุมมองของแพทย์แผนจีน “อาการสะอึก” เกิดจากการไหลเวียนของชี่ภายในร่างกายเกิดการติดขัด หรือ อาจเกิดจากการทำงานของอวัยวะต่างๆที่เกี่ยวข้องขาดสมดุลหรือบกพร่องไป เช่น ม้ามกระเพาะอาหารพร่องเกินไป ยินของกระเพาะไม่เพียงพอ หรือ กระเพาะอาหรเย็น ร้อนเกินไปทำให้ไหลย้อนขึ้นด้านบน ซึ่ง การฝังเข็ม จะช่วยแก้อาการสะอีก อุ่นกระเพาะอาหาร เพิ่มการหมุนเวียนของเลือด โดยในทางแพทย์แผนจีน วินิจฉัยอาการสะอึกออกเป็น 3 สาเหตุได้แก่ เกิดจากอาหารตกค้างไม่ย่อย จะมีอาการะอึกเสียงดังและใส ท้องอืดแน่น ปวดท้อง เรอบ่อย มีกลิ่นปาก เบื่ออาหาร เกิดจากอาการชี่ติดขัด จะมีอาการและการแสดงออก สะอึกเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง และอาการเป็นมากขึ้นเมื่อเกิดอารมณ์เสีย รู้สึกปวดแน่นในช่วงทรวงอกและใต้ชายโครง เกิดจากมีความเย็นในกระเพาะอาหาร จะมีอาการเมื่อเจออากาศเย็นจะเกิดอาการสะอึก เมื่ออากาศอุ่นอาการจะดีขึ้น คำแนะนำในการดูแลตัวเองในทางแพทย์แผนจีน ควรดื่มน้ำอุณหภูมิห้องวันละ 3 […]
6 Tips…การประยุกต์วิถีแพทย์แผนจีนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
สำหรับศาสตร์การแพทย์แผนจีน ถือเป็นศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยจะยึดหลักการสมดุลของหลักธรรมชาติกับร่างกายมนุษย์เป็นสำคัญ วันนี้ทางศรีริกุลคลินิก มี 6 Tips สำหรับการนำความรู้ตามศาสตร์แพทย์แผนจีนนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ดื่มน้ำอุ่นเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า เนื่องจากกระเพาะอาหารเป็นที่แรกที่ได้รับอาหาร และจะเกิดกระบวนการย่อยต่างๆ โดยอาหารฤทธิ์เย็นจะทำให้กระเพาะอาหารตึงเครียดเกินไป เนื่องจากจะต้องใช้พลังงานเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความร้อนในขณะที่เกิดกระบวนการย่อยอาหาร ซึ่งถ้าทานอาหารอุ่นๆเป็นอันดับแรกจะช่วยลดการเกิดตรงนี้ได้ เลือกส่วนผสมของอาหารที่อุ่นเข้าไว้ การทานอาหารอุ่นๆจะช่วยลดพลังงานที่จะต้องทำให้เกิดกระบวนการย่อย และลดความตึงเครียดของกระเพาะอาหารได้ด้วย ผ่อนคลายร่างกาย เพื่อให้ลมปราณไหลเวียนได้ดี เมื่อคุณตึงเครียด กล้ามเนื้อของคุณก็จะตึง และจะทำให้การไหลเวียนของชี่นั้นติดขัด เมื่อคุณผ่อนคลายร่างกายก็จะทำให้ชี่และเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ลองกินอาหารธรรมชาติ มากกว่าอาหารที่ปรุงแต่ง ยิ่งเป็นธรรมชาติมากเท่าไหร่ การย่อยอาหาร ดึงสารอาหาร และกระบวนการในร่างกายต่างๆก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น ปกป้องร่างกายจากการเจอลมและความเย็น การที่ร่างกายได้รับความเย็นหรือลมมากเกินไป ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะทำให้สมดุลของร่างกายเปลี่ยนเป็นหยินมากเกินไป ส่งผลให้ร่างกายอับชื้น แขนขาเย็น ระบบไหลเวียนไม่ดี และปัญหาอื่นๆตามมาได้ ลองสังเกตุร่างกายในแต่ละวัน […]
“ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ” …กับการรักษาในทางแพทย์แผนจีน
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาต คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือ หลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ทำให้การทำงานของสมองบางส่วนหรือทั้งหมดผิดปกติไป อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke) ทำให้เนื้อเยื่อสมองขาดเลือด โดยอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ จากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด และ หลอดเลือดสมองอุดตันจากการมีลิ่มเลือดจากหัวใจไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ซึ่งทั้งสองแบบทำให้การไหลเวียนเลือดในสมองเสียไป เกิดสมองขาดเลือดหรือเนื้อเยื่อสมองตาย ตามมาได้ หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด (Hemorrhagic stroke) เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางจากภาวะความดันเลือดสูง หรือหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น จากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้แตกง่าย ส่งผลทำให้เกิดเลือดออกในสมอง และเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมองตามมา ในทางการแพทย์แผนจีนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จะเรียกว่า จ้งเฟิง (中风) มีปัจจัยก่อโรคมากมายทำให้มีการดำเนินโรคที่ซับซ้อน ปัจจัยการเกิดโรคนี้ได้แก่ลม (风) ไฟ(火) เสมหะ (痰) เลือดคั่ง (瘀) […]
3 ท่านอน…ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดี แบบวิถีแพทย์จีน
คนส่วนใหญ่หลงลืมการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น การนอน เป็นต้น ซึ่งการนอนที่ดีนั้น เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ วันนี้ทางศรีริกุลคลินิกมีท่านอนที่ดี เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการดูแลสุขภาพของทุกๆคน ในแบบแพทย์แผนจีน 病龙眠 คือ การนอนงอเข่าไปด้านข้างเหมือนมังกรป่วย ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดตะคริวที่ขาได้ เป็นเพราะแขนขาส่วนล่างเหยียดตรง โดยปกติถ้านอนหงาย กล้ามเนื้อจะอยู่ในสภาวะตึงเครียดและเกิดตะคริวได้ง่าย แต่เมื่องอขาไปด้านข้าง กล้ามเนื้อส่วนล่างผ่อนคลาย ซึ่งสามารถป้องกันตะคริวที่น่องได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งการแพทย์แผนจีนยังให้ความสำคัญกับกระเพาะอาหาร โดยมีคำกล่าวว่า “หากท้องไม่ประสานกัน คุณจะรู้สึกกระสับกระส่ายเมื่อนอนลง” ก่อนเข้านอนสามารถออกกำลังกายด้วยการนอนหงายและงอเข่า ซึ่งจะส่งเสริมการทำงานของทางเดินอาหารและช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น 寒猿眠 คือ ท่านอนคล้ายๆการนอนขดตัวเมื่อรู้สึกหนาว หลายคนมีอาการปวดหลัง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง ซึ่งถ้าทำท่านี้จะสามารถยืดหลังได้และผ่อนคลายข้อต่อกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น ก่อนเข้านอนตอนกลางคืนหรือตื่นนอนตอนเช้า ให้นอนชันเข่าเป็นเวลา 2 ถึง 3 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังได้อีกด้วย 龟息眠 คือ ท่านอนคล้ายๆการนอนแบบเต่า โดยการเอามือและแขนแนบชิดหน้าอก […]
“หลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น” …กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
“ หลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น ” หรือที่เรียกกันว่า Upper Crossed Syndrome (UCS) คือภาวะที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และอก ทำงานหนักอย่างไม่สมดุลกัน โดยมีกล้ามเนื้อส่วนที่หดตัว และอ่อนล้า ครอสกันเป็นรูปกากบาท (X) โดยแบ่งได้เป็นดังนี้ กล้ามเนื้อส่วนที่หดตัว (Tightness) : กล้ามเนื้อคอ บ่าส่วนบน และกล้ามเนื้ออก กล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง (Weakness) : กล้ามเนื้อช่วงสะบัก บ่าส่วนกลางและล่าง รวมถึงกล้ามเนื้ออกด้านข้าง โดยสาเหตุของการเกิด “ หลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น ” หรือ Upper Crossed Syndrome นั้น อาจเกิดจาก การอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เกิดอาการเกร็งโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อทำงานหนักและทำงานไม่สมดุลกัน มักเกิดจากการทำกิจกรรมเหล่านี้เป็นเวลานาน ๆ นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ก้มเล่นสมาร์ทโฟน อ่านหนังสือ ขับรถ หรือ […]
โรคกับ…ผู้สูงอายุ ในแบบแพทย์แผนจีน
ในกลุ่มผู้สูงอายุนั้นจะพบเจอปัญหาสุขภาพได้ง่าย และฟื้นตัวได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านร่างกาย อารมณ์ หรือภาวะจิตใจ ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานหนักเกินไปและส่งผลต่ออวัยวะภายในทำให้เกิดโรคได้ง่ายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ความผิดปกติที่หมอจีนสามารถช่วยเหลือได้นั้นมีอะไรบ้าง ร่างกายมีอาการอ่อนเพลียได้ง่าย เวียนหัวและปวดหัว จากชี่ของม้าม และเลือดของหัวใจพร่อง ควบคุมอารมณ์ได้ยาก หงุดหงิดง่าย จากชี่ของตับอุดกลั้นจนทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก กระสับกระส่าย นอนหลับยาก จากไฟของหัวใจและตับที่มีมากเกินไป เส้นเลือดเปราะ ช้ำง่าย เลือดแข็งตัวยาก จากม้ามพร่อง ขาบวม ปัสสาวะบ่อย จากไตควบคุมน้ำไม่ดี หายใจสั้น หอบง่าย เหนื่อยง่าย จากการทำงานของปอดและไตกระจายลมไม่ประสานกัน เบื่ออาหาร ย่อยยาก จากชี่ม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง ทำให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยการดูแลรักษาทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน จะสามารถใช้การฝังเข็มร่วมกับยาสมุนไพรจีนได้ โดยสำหรับผู้สูงอายุจะเน้นการปรับสมดุล และบำรุงอวัยวะภายในเป็นสำคัญ เพื่อฟื้นฟูในอวัยวะบางส่วนให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม การดูแลร่างกายตัวเองในเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุ มีงานอดิเรกให้ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายวันละ 15-20 นาที/วัน เช่น การเดิน , jogging หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสจัด […]
รู้หรือไม่? ขูดนิ้วแบบแพทย์จีน….แก้อาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้
แพทย์แผนจีนเชื่อว่าการอุดตันของเส้นลมปราณทำให้เลือด ชี่ นั้นไม่ไหลเวียน จนเกิดเป็นอาการเจ็บป่วยตามมาได้ บนฝ่ามือของเรามีเส้นลมปราณต่างๆมากมาย ซึ่งจะสัมพันธ์กับส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นการขูดนิ้วตามศาสตร์แพทย์จีน สามารถช่วยแก้ปัญหาสุขภาพต่างๆได้ เช่น อาการท้องผูก อาการเมารถ และอาการนอนไม่หลับ ได้อีกด้วย ดังนั้นวันนี้ทางศรีริกุลคลินิกเอาสาระความรู้ดีๆเกี่ยวกับ การแก้อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ซึ่งทุกคนสามารถทำตามได้ง่ายๆมาฝากกันค่ะ !
“ปวดข้อศอกด้านนอก (Tennis elbow)” …กับการรักษาในแพทย์แผนจีน
ปวดศอก หรืออาการเจ็บบริเณข้อศอกด้านนอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส (Tennis elbow) เกิดจากมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่มาเกาะยึดบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอก สาเหตุอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น อุบัติเหตุ หรือเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นเอ็น เช่น การเล่นกีฬา อาชีพที่ต้องยกของ หรือลากของบ่อยๆ แม่บ้าน (กวาดบ้าน, บิดผ้า, ทำกับข้าว) เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีการบาดเจ็บ ประกอบกับวัยที่เริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้เส้นเอ็นบริเวณที่มีการฉีกขาดเมื่อยังไม่ทันหายสนิทผู้ป่วยกลับไปใช้งานอีก เกิดการฉีกขาดซ้ำ มีการอักเสบ บวม ทำให้หายช้ากว่าปกติ อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ จนถึงหลายเดือน อาการอักเสบบริเวณข้อศอก อาจจะเกิดเพียงส่วนของเส้นเอ็น (Tendonitis) แต่บ่อยครั้งที่อาการอักเสบจะเกิดครอบคลุมถึงตำแหน่งที่เกาะของเส้นเอ็นบนกระดูก และข้อใกล้เคียง (epicondylitis) ในทางการแพทย์แผนจีน อาการเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอก จัดอยู่ในขอบเขตของ “伤筋” ข้อศอกเป็นบานพับของแขน เป็นบริเวณที่เส้นลมปราณมือหยางหมิง (手阳明大肠经)พาดผ่าน เมื่อเกิดการใช้งานบริเวณข้อศอกด้านนอกเป็นระยะเวลานานหรือออกแรงมากเกินไป จะทำให้เส้นลมปราณเอ็นมือหยางหมิง (手阳明经筋)ได้รับบาดเจ็บ ในระยะเฉียบพลันจะมีอาการปวด บวม แดงและร้อน เมื่อกระทบความร้อนอาการปวดจะมากขึ้น หรือความเย็นจากภายนอกเข้ามากระทบเส้นเอ็น ทำให้การไหเวียนของชี่และเลือดติดขัด พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อศอกถูกจำกัด เมื่อกระทบความเย็นอาการปวดมากขึ้น […]
6 เหตุผล ว่าทำไม “นักกีฬา” ควรฝังเข็ม
นักกีฬาถือว่าเป็นอาชีพที่ต้องใช้กล้ามเนื้ออยู่ตลอดเวลา ซึ่งในบางครั้งในการแข่งขันบางอย่าง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการแข่ง หรือเกิดอาการบาดเจ็บระหว่างการฝึกซ้อม หรือแข่งขันได้ โดยการใช้กล้ามเนื้อที่มากเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นๆ เกิดการตึงตัวจนเกิดเป็นอาการบาดเจ็บได้ ซึ่งการวอร์มอัพร่างกายในทุกๆการฝึกซ้อมและแข่งขันจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากวิธีการวอร์มอัพร่างกายด้วยตนเองแล้ว การใช้แพทย์ทางเลือกก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะสามารถช่วยได้เหมือนกัน วันนี้เรามาดูว่า 6 เหตุผล ว่าทำไม “นักกีฬา” ถึงควรใช้การฝังเข็มตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ในการดูแลรักษาร่างกายระหว่างการฝึกซ้อมและการแข่งขันต่างๆ 1. ช่วยลดอาการปวด การรักษาด้วยการฝังเข็ม จะช่วยลดความเจ็บปวดโดยการปล่อยสารเอ็นโดรฟินและปล่อยยาแก้ปวดโดยธรรมชาติ กลไกการฝังเข็มจะช่วยยับยั้งทั้งส่วนประกอบทางประสาทสัมผัสและอารมณ์ของความเจ็บปวดจากการอักเสบ 2. ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากลดความเจ็บปวดแล้ว การฝังเข็มยังช่วยลดการอักเสบ ส่งเสริมการไหลเวียนโลหิต เพิ่มระดับพลังงานชีวิต ช่วยในการนอนหลับ และลดอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้ การมีระดับพลังงานที่ดีและการนอนหลับพักผ่อนที่ดีเป็นกุญแจสำคัญประการหนึ่งในการฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้นหลังออกกำลังกาย 3. ช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้ แพทย์จะประเมินร่างกายทั้งหมดและสามารถตรวจวินิจฉัยบริเวณที่ตึงและรู้สึกไม่สบายที่นักกีฬาอาจยังไม่ทราบ สิ่งเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น อิริยาบถ รูปแบบการออกกำลังกายที่ไม่ดี การใช้งานมากเกินไปแบบเรื้อรัง หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ การปล่อยบริเวณเหล่านั้นไปก่อนที่จะมีอาการปวด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียตามมาทีหลังได้ ซึ่งการฝังเข็มจะช่วยปรับ คลาย แก้ปวดกล้ามเนื้อ สร้างความยืดหยุ่นได้ 4. […]
ปวดหัวแบบไหน…คือ ไมเกรน กับการรักษาในแบบแพทย์จีน
ปวดศีรษะข้างเดียวหรือที่เรียกว่าปวดศีรษะไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษ โดยมีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ และอาจพบจากประวัติทางกรรมพันธุ์ได้ด้วย สาเหตุส่วนใหญ่นั้นเกิดจากความเครียดเป็นอาการที่พบได้บ่อยครั้งที่สุด ในมุมมองแพทย์จีน จัดอาการอาการปวดศีรษะจัดเป็น โรคโถวท่ง “头痛” ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน ในทางการแพทย์แผนจีน ปัจจัยภายนอก อาทิเช่น ลมเย็น ลมร้อน ลมชื้น เป็นต้น ปัจจัยภายใน นั้นมักมีความสัมพันธ์กับอวัยวะตับ ม้ามและไต เช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะไตอินพร่อง ส่งผลให้หยางของตับลอยขึ้นสู่เบื้องบน ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นได้ หรือในผู้ที่มีภาวะกดดันทางอารมณ์ จะทำให้ชี่ตับไม่ระบาย ชี่ติดขัดเกิดเป็นไฟลอยสู่เบื้องบน หรือการทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ตรงเวลา ร่วมกับการทำงานหนักเกินไป จะทำให้การย่อยและดูดซึมสารอาหารของม้ามเสียสมดุล เกิดเป็นเสมหะและของเสียต่างๆอุดกั้นที่จงเจียว ส่งผลให้การส่งต่อสารสำคัญไปเบื้องบนและขับของเสียลงเบื้องล่างสูญเสียไป จนเกิดอาการปวดศีรษะขึ้น เป็นต้น นอกจากสาเหตุจากอวัยวะทั้ง 3 แล้ว ภาวะชี่และเลือดพร่อง ภาวะชี่และเลือดติดขัด ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดศีรษะได้เช่นกัน โดยการรักษาจะเป็นการฝังเข็ม การครอบแก้ว หรือการใช้ยาสมุนไพรจีน โดยการฝังเข็มจะเป็นการคลายกล้ามเนื้อ หรือคลายปมจุดกดเจ็บ (Trigger Point) […]
“อาการบ้านหมุน” กับการรักษาในทางแพทย์แผนจีน
อาการบ้านหมุน (Vertigo) เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายในหูชั้นในที่ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรู้สึกเหมือนบ้านหรือสิ่งของที่มองเห็นได้หมุนเฉียบพลัน ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ข้อแตกต่างระหว่างอาการเวียนศีรษะ VS เวียนศีรษะบ้านหมุน อาการเวียนศีรษะ (Dizziness) โดยทั่วไปมีลักษณะอาการตั้งแต่มึนศีรษะ งุนงง โคลงเคลง ไม่มั่นใจ หวิว ๆ โหวง ๆ ยืนเดินทรงตัวไม่ดี อาจงง มักมีสาเหตุมาจากสภาวะต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งต่างกับอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) ที่จะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนหรือตนเองกำลังหมุนไปทั้งที่อยู่กับที่ หรือรู้สึกโคลงเคลงทั้งที่อยู่กับที่หรือไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะรับการทรงตัวของหูชั้นในที่คอยดูแลสมดุลของร่างกาย ซึ่งถ้าหากมีอาการรุนแรงจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ มีเสียงในหู เป็นต้น ในทางแพทย์จีนบ้านหมุน หรือเสวียน-ยวิน (眩晕) สาเหตุการเกิดอาการเวียนหัวมีมากมายจึงไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดจากการสังเกต จึงต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์จีน โดยกลไกเกิดจาก ม้ามกระเพาะอาหารพร่องทำให้เกิดเสมหะ การขาดสารอาหาร อินตับพร่องทำให้เลือดพร่อง หยางตับแกร่งทำให้เกิดไฟนานเข้าทำให้เกิดลม หรือภาวะเลือดคั่ง โดยการรักษาจะใช้การฝังเข็มหรือยาสมุนไพรจีน เพื่อลดอาการวิงเวียนศีรษะ สงบตับบำรุงหยางชี่ ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร […]
“ออฟฟิศซินโดรม” ปัญหาของคนวัยทำงาน…กับการรักษาในทางแพทย์แผนจีน
สำหรับคนวัยทำงานหลายคนอาจกำลังตกอยู่ในภาวะ “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) ที่มีอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือปวดร้าวศีรษะ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ หรือนั่งไม่ถูกวิธี กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการผ่อนคลาย การจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนทำงานหนักเกินไป ทำให้เกิดความเครียดร่วมด้วย อาการที่สามารถสังเกตุได้ด้วยตัวเอง ในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน กล่าวไว้ว่า การเจ็บปวดมาจากพลังติดขัด เลือดอุดกั้น แบ่งเป็น การไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง) ทำให้ปวด (不通则痛) การไม่ได้รับการหล่อเลี้ยง (จากเลือดและพลัง) ทำให้ปวด (不荣则痛) ซึ่งอาการปวดจากโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นก็มีสาเหตุหลักๆมาจาก เส้นลมปราณถูกปิดกั้น ทําให้เลือดลมไม่ไหลเวียน หรือเลือดลมบริเวณนั้นๆเติดขัด เกิดการพร่อง จึงก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยขึ้นมา ซึ่งก็ไปสอคดล้องกับข้อมูลของแพทย์ปัจจุบันที่ว่าด้วย ความเครียดที่สะสม รวมทั้งอิริยาบทที่เราต้องทำท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ กล้ามเนื้อทำงานต่อเนื่องไม่ได้คลายตัว จนเกิดการหดรั้งขึ้น ของเสียที่กล้ามเนื้อผลิตออกมาก็สะสม ไว้บริเวณนั้นจนก่อให้เกิดอาการปวดขึ้นได้ โดยการรักษาในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น จะใช้การฝังเข็มเพื่อรักษาโรค ลดอาการปวด ปรับสมดุลภายในเป็นหลัก ร่วมกับใช้การครอบแก้วเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยให้บริเวณที่ปวดและตึงตัวนั้นคลายได้มากยิ่งขึ้น การดูแลในเบื้องต้นด้วยตนเอง […]
หลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ (Henoch Schonlein Purpura)…กับการรักษาในทางการแพทย์แผนจีน
โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ (Henoch Schonlein Purpura) คือ โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ โดยเส้นเลือดเล็ก ๆ บริเวณผิวหนัง ข้อต่อ ลำไส้ และไตเกิดการอักเสบ ระคายเคือง บวม และมีเลือดออก ส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อต่อหรือปวดท้อง รวมถึงมีผื่นขึ้นพร้อมกับมีรอยช้ำขนาดเล็กจำนวนมาก Henoch Schonlein Purpura ไม่ใช่โรคร้ายแรง ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยเกิดจากเส้นเลือดเล็กในผิวหนังอักเสบ ระคายเคือง บวม และมีเลือดออก แม้ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุการอักเสบของโรคนี้ได้อย่างแน่ชัด แต่อาจเกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติจากการติดเชื้อ อาการที่แสดง มีผื่น : เป็นลักษณะจ้ำแดง ๆ ม่วง ๆ ขึ้นตามผิวหนัง ขา เท้า แขน และก้น แต่ไม่มีอาการคัน ปวดตามข้อ : ข้ออักเสบ โดยเฉพาะที่ข้อเท้า หัวเข่า มักเป็นเฉียบพลัน และหายเองได้เป็นปกติ ปวดท้อง : จะปวดมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยอาจอาเจียน […]
“ปวดเข่า เข่าลั่น” กับการรักษาในทางศาตร์การแพทย์แผนจีน
รู้หรือไม่? อาการปวดเข่า หัวเข่าลั่น หรือมีเสียงกร๊อบแกร๊บในเข่า อาจเกิดจาก “ข้อเข่าเสื่อม” เสียงดังในเข่า เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง ? โดยปกติมักเกิดจากความผิดปกติของข้อเข่า หรือมาจากโรคต่างๆ จากอวัยวะบริเวณหัวเข่า มักจะมีอาการปวดร่วมด้วย ได้แก่ 1. โรคข้อเข่าเสื่อม มักจะเกิดจากอายุที่สูงมากขึ้นตามวัย มีอาการปวดร่วมในข้อเข่าร่วมด้วย 2. การประสบอุบัติเหตุบริเวณกระดูกอ่อน เช่น การออกกำลังกายผิดวิธี 3. โรคข้อเข่าอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการลงน้ำหนักเท้าที่ผิดวิธี และการยกของหนัก 4. หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น การหกล้ม หรือการลงน้ำหนักบริเวณหัวเข่าแล้วเกิดการบิดของหัวเข่าขั้น 5. โรคข้อเข่าติดเชื้อ สังเกตได้ด้วยภายนอกบริเวณหัวเข่า จะมีลักษณะบวม แดง ร่วมกับอาการปวดข้อเข่า และมีไข้ โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the knee – OA) เป็นรูปแบบของ “โรคข้ออักเสบ” ที่พบบ่อยมากที่สุด เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อต่อที่มีการใช้งานเยอะ และรองรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเกิดอาการสึกหรอ ฉีกขาด […]
วิธีการกู้คืนระบบเผาผลาญ…ในแบบแพทย์แผนจีน
ระบบเผาผลาญ หรือระบบเมตาบอลิซึม ( Metabolic system ) คือ กระบวนการที่ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่เพื่อสร้างพลังงาน หากมีอัตราเมตาบอลิซึมสูงก็จะทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ได้มาก ซึ่งช่วยให้มีสุขภาพที่ดีและรูปร่างที่ดีได้ โดยการเพิ่มกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกายนั้น ได้แก่ การย่อยสารอาหารจากอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ที่บริโภคเข้าไป และการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย โดยตามหลักการของศาสตร์การแพทย์แผนจีน กลไลของระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายนั้น จะเกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในร่างกาย ได้แก่ ตับ ม้าม และไต โดยการที่ระบบเผาผลาญในร่างกายสูญเสียสมดุลไป ทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน ได้กล่าวไว้ว่า เกิดจากการมีที่มี เสมหะ หรือการติดขัดหรือการคั่งค้างของเลือด และการที่อวัยวะที่เกี่ยวข้องทั้งสามทำงานได้ไม่เต็มที่ เช่น ภาวะที่ม้ามทำงานได้ไม่เต็มที่ ภาวะที่ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือภาวะที่ม้ามและไตพร่อง เป็นต้น โดยการฟื้นฟูระบบเผาผลาญทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน สามารถนำไปปฏิบัติได้เอง ดังต่อไปนี้ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เวลากินมีผลอย่างมากต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย โดยเฉพาะมื้อเช้า ถ้าเมื่อไหร่ที่เรางดมื้อเช้า อัตราการเผาผลาญจะน้อยลงไปด้วย ดังนั้นเวลาในการทานก็สำคัญ ถ้าเราได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน การเผาผลาญของร่างกายช้าลงและอัตราการเผาผลาญไขมันก็จะลดลงตามไปด้วย นอกจากการรู้ว่าควรกินเวลาไหนแล้ว อะไรควรกินก็สำคัญไม่แพ้กัน อาหารบางชนิด เช่น โปรตีนในเนื้อไม่ติดมัน แคลเซียม ชาเขียว […]
ดูแลตัวเองอย่างไร…เมื่อมีภาวะซึมเศร้า ตามแบบแพทย์จีน
ภาวะซึมเศร้า เป็นความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย เพราะอารมณ์ เป็นพื้นฐานของมนุษย์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ คือ มีอารมณ์ซึมเศร้าหดหู่อย่างชัดเจนสะสมมาเป็นระยะเป็นเวลาที่นาน มักมีการรับรู้และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปร่วมด้วยในกรณีที่รุนแรงอาจมีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำได้อีก เมื่อมีอาการเกิดขึ้นในแต่ละครั้งส่วนใหญ่สามารถดีขึ้นได้ บางรายอาจมีอาการของโรคที่หลงเหลือหรือกลายเป็นแบบเรื้อรังได้ ในทางแพทย์แผนจีน ภาวะซึมเศร้า จะถูกจัดอยู่ในขอบเขต “ กลุ่มอาการเตียน 癫证 ” ซึ่งจัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตประสาท เนื่องจากมีเสมหะอุดกั้นทวารของหัวใจ ทำให้การทำงานของเสินแปรปรวน ลักษณะพิเศษของโรค คือ จิตใจซึมเศร้า อารมณ์เฉื่อยชา เงียบขรึม ทักษะการพูดเริ่มผิดปกติ พูดจาสับสน นิ่งสงบ หรือมีการเคลื่อนไหวน้อย การดูแลตนเองเบื้องต้น ถ้ามีภาวะซึมเศร้าตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ฟื้นฟูสภาวะทางอารมณ์และเสริมสร้างความบันเทิง : ทำให้รู้สึกแรงบันดาลใจ ให้รู้สึกมีชีวิตชีวา มีความสุข ร่าเริง และรักษาอารมณ์ให้มั่นคง หลีกเลี่ยงอารมณ์ดีใจหรือตกใจมากเกินไป เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย : ควรออกกำลังกาย เล่นกีฬาประเภทลูกบอลต่างๆ อู่ฉินซี่ (五禽戏) เพื่อช่วยให้ชี่และเลือดไหลเวียนสะดวกมากขึ้น สภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น […]